เมนู

กาเรียกบุตรของเราแม้ว่า ' สมณะ ' ก็ควร. เรียกว่า ' พราหมณ์ '
ก็ควรเหมือนกัน " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
9. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย1
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภุเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ.
" แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติ
ประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต ได้แก่ ประดับด้วยผ้าและ
อาภรณ์. บัณฑิตพึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า " แม้หากว่าบุคคล
ประดับด้วยเครื่องอลังการมีผ้าเป็นต้น พึงประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยกาย
เป็นต้น. ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะความสงบระงับแห่งราคะเป็นต้น, ชื่อว่า
เป็นผู้ฝึก เพราะฝึกอินทรีย์, ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยง เพราะเที่ยงในมรรคทั้ง 4.
ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติประเสริฐ, ชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทุก
จำพวก เพราะความเป็นผู้วางเสียซึ่งอาชญาทางกายเป็นต้นแล้ว. ผู้นั้น
คือผู้เห็นปานนั้น อันบุคคลควรเรียกว่า ' พราหมณ์ ' เพราะความเป็นผู้
มีบาปอันลอยแล้ว ก็ได้, ว่า ' สมณะ ' เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบ
1. อรรถกถาเป็น สมญฺจเรยฺยย.