เมนู

ประดับใหญ่ ทั้งได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์
นั้น ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง นั่งบนคอช้าง ได้ทำกรรมของผู้
ป่าวร้องธรรมสิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกายของข้าพระองค์
นั้น กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้; นี้เป็นกรรมที่
ข้าพระองค์ทำแล้ว. "

การปรินิพพานของสันตติมหาอำมาตย์


สันตติมหาอำมาตย์นั้น ครั้นทูลบุรพกรรมของตนอย่างนั้นแล้ว
นั่งบนอากาศเทียว เข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้ว. เปลวไฟเกิดขึ้นในสรีระ
ไหม้เนื้อและโลหิตแล้ว. ธาตุทั้งหลายดุจดอกมะลิเหลืออยู่แล้ว.
พระศาสดา ทรงคลี่ผ้าขาว. ธาตุทั้งหลายก็ตกลงบนผ้าขาวนั้น.
พระศาสดา ทรงบรรจุธาตุเหล่านั้นแล้ว รับสั่งให้สร้างสถูปไว้ที่ทางใหญ่
4 เเพร่ง ด้วยทรงประสงค์ว่า " มหาชนไหว้แล้ว จักเป็นผู้มีส่วน
แห่งบุญ. "

สันตติมหาอำมาตย์ควรเรียกว่าสมณะหรือพราหมณ์


พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ สันตติมหาอำมาตย์
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถา ๆ เดียว ยังประดับประดาอยู่นั่น
แหละ นั่งบนอากาศปรินิพพานแล้ว. การเรียกเธอว่า ' สมณะ' ควร
หรือหนอแล ? หรือเรียกเธอว่า ' พราหมณ์ ' จึงจะควร. "
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า ' พวก
ข้าพระองค์ นั่งประชุมกันด้วยกถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

กาเรียกบุตรของเราแม้ว่า ' สมณะ ' ก็ควร. เรียกว่า ' พราหมณ์ '
ก็ควรเหมือนกัน " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
9. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย1
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภุเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ.
" แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติ
ประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต ได้แก่ ประดับด้วยผ้าและ
อาภรณ์. บัณฑิตพึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า " แม้หากว่าบุคคล
ประดับด้วยเครื่องอลังการมีผ้าเป็นต้น พึงประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยกาย
เป็นต้น. ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะความสงบระงับแห่งราคะเป็นต้น, ชื่อว่า
เป็นผู้ฝึก เพราะฝึกอินทรีย์, ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยง เพราะเที่ยงในมรรคทั้ง 4.
ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติประเสริฐ, ชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทุก
จำพวก เพราะความเป็นผู้วางเสียซึ่งอาชญาทางกายเป็นต้นแล้ว. ผู้นั้น
คือผู้เห็นปานนั้น อันบุคคลควรเรียกว่า ' พราหมณ์ ' เพราะความเป็นผู้
มีบาปอันลอยแล้ว ก็ได้, ว่า ' สมณะ ' เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบ
1. อรรถกถาเป็น สมญฺจเรยฺยย.