เมนู

ทั้งสอง. กุมารนั้นไม่กลับ มากับพวกเรา. แม้เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวว่า
ยักษ์ตนหนึ่งในป่าเคี้ยวกินน้องชายคนเล็กนั้น ' ดังนี้ ใคร ๆ ก็จักไม่
เชื่อ. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าผู้กลัวต่อภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชาย
คนเล็กนั้นผู้เดียวมาให้. "
ยักษ์เลื่อมใสต่อพระโพธิสัตว์ สรรเสริญว่า " สาธุ ท่านบัณฑิต
ท่านผู้เดียวทั้งรู้เทวธรรม ทั้งประพฤติในเทวธรรม " ดังนี้แล้ว จึงได้
นำเอาน้องชายแม้ทั้งสองคนมาให้.

พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติ


ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสพรรณนาโทษในความเป็นยักษ์แล้ว
ให้ยักษ์นั้นดำรงอยู่ในศีล 5. พระโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้มีความรักษาอัน
ยักษ์นั้นจัดทำด้วยดีแล้ว อยู่ในป่านั้น. ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคต
แล้ว. พายักษ์ไปยังกรุงพาราณสี ครอบครองราชสมบัติแล้ว พระราช-
ทานตำแหน่งอุปราชแก่จันทกุมาร พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริย-
กุมาร โปรดให้สร้างที่อยู่ในรัมณียสถานแก่ยักษ์. (และ) ได้ทรงทำโดย
ประการที่ยักษ์นั้นจะถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ.

พระศาสดาทรงย่อชาดก


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า " รากษสน้ำนั้น ในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมาก, สุริย-
กุมาร เป็นพระอานนท์. จันทกุมาร เป็นพระสารีบุตร. มหิสสาสกุมาร
ได้เป็นเรานี่เอง."
พระศาสดา ครั้นตรัสชาดกอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุ ในกาล
ก่อน เธอแสวงหาเทวธรรม ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเที่ยวไปอย่าง

นั้น. บัดนี้ เธอยืนอยู่โดยทำนองนี้ ในท่ามกลางแห่งบริษัท 4 กล่าวอยู่
ต่อหน้าเราว่า " ฉันมีความปรารถนาน้อย " ดังนี้ ชื่อว่าได้ทำกรรมอันไม่
สมควรแล้ว. เพราะว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ ด้วยเหตุสักว่าห้ามผ้า
สาฎกเป็นต้นก็หามิได้ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
8. น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา
รโชชลฺลํ อุกูกุฏิกป)ปธานํ
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ.
" การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์
ไม่ได้, การเกล้าชฎาก็ไม่ได้ การนอนเหนือเปือกตม
ก็ไม่ได้, การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่นดินก็ดี
ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความเพียร
ด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำสัตว์ผู้ยัง
ไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาสกา ตัดบทเป็น น อนาสกา.
ความว่า การห้ามภัต. การนอนบนแผ่นดิน ชื่อว่า ตณฺฑิลสายิกา
ธุลีที่หมักหมมอยู่ในสรีระ โดยอาการคือดังฉาบทาด้วยเปือกตม ชื่อว่า
รโชชลฺลํ, ความเพียรที่ปรารภแล้ว ด้วยความเป็นผู้นั่งกระโหย่ง ชื่อว่า
อุกฺกุฏิกปฺปธานํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายคำนี้ว่า " ก็สัตว์ใดเข้าใจว่า
เราจักบรรลุความบริสุทธิ์ กล่าวคือการออกจากโลก ด้วยการปฏิบัติ