เมนู

พระโพธิสัตว์แสดงเทวธรรมแก่รากษส


พระโพธิสัตว์แม้เมื่อจันทกุมารนั้นเช้าอยู่ จึงคิดว่า "อันตรายจะ
พึงมี" ดังนี้แล้ว จึงไปเอง เห็นรอย (เท้า) ลงแห่งกุมารแม้ทั้งสองแล้ว
ก็ทราบว่า "สระนี้มีรากษสรักษา" จึงสอดพระขรรค์ไว้ ถือธนูได้ยืน
แล้ว. รากษสเห็นพระโพธิสัตว์นั้นไม่ลง (สู่สระ) จึงแปลงเพศเป็นชาย
ชาวป่า มากล่าวปราศรัยว่า "ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเดินทางอ่อนเพลีย
ทำไม จึงไม่ลงสู่สระนี้ อาบน้ำ, ดื่มน้ำ, เคี้ยวกินเหง้าบัว ประดับดอกไม้
แล้ว จึงไปเปล่า ?"
พระโพธิสัตว์พอเห็นบุรุษนั้นก็ทราบได้ว่า "ผู้นี้เป็นยักษ์" จึง
กล่าวว่า "ท่านจับเอาน้องชายทั้งสองของข้าพเจ้าไว้หรือ ?"
ยักษ์. เออ ข้าพเจ้าจับไว้.
โพธิสัตว์. จับไว้ทำไม ?
ยักษ์. ข้าพเจ้า ย่อมได้ (เพื่อกิน) ผู้ลงสู่สระนี้.
โพธิสัตว์. ก็ท่านย่อมได้ทุกคนเทียวหรือ ?
ยักษ์. เว้นผู้รู้เทวธรรม คนที่เหลือ ข้าพเจ้าย่อมได้.
โพธิสัตว์. ก็ท่านมีความต้องการด้วยเทวธรรมหรือ ?
ยักษ์. ข้าพเจ้ามีความต้องการ.
โพธิสัตว์. ข้าพเจ้าจักกล่าว (ให้ท่านฟัง).
ยักษ์. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกล่าวเถิด.
โพธิสัตว์. ข้าพเจ้ามีตัวสกปรก ไม่อาจกล่าวได้.
ยักษ์ให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำอันควรดื่ม ตบแต่งแล้ว

เชิญขึ้นสู่บัลลังก์ ในท่ามกลางมณฑปอันแต่งไว้ ตัวเองหมอบอยู่แทบ
บาทมูลของพระโพธิสัตว์นั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์บอกกะยักษ์นั้นว่า "ท่านจงฟังโดยเคารพ"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
"นักปราชญ์ เรียกคนผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและ
โอตตัปปะ ตั้งมั่นดีแล้วในธรรมขาว เป็นผู้สงบเป็น
สัตบุรุษในโลกว่า 'ผู้ทรงเทวธรรม."

ยักษ์ฟังธรรมเทศนานี้แล้วเลื่อมใส กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า
" ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านแล้ว จะให้น้องชายคนหนึ่ง, จะนำ
คนไหนมา ?"
โพธิสัตว์. จงนำน้องชายคนเล็กมา.
ยักษ์. ท่านบัณฑิต ท่านรู้เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ท่านไม่
ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.
โพธิสัตว์. เพราะเหตุไร ?
ยักษ์. เพราะท่านให้นำน้องชายคนเล็กมาเว้นคนโตเสีย ย่อมไม่
ชื่อว่าทำอปจายิกกรรม1ต่อผู้เจริญ.

พระโพธิสัตว์ทั้งรู้ทั้งพฤติเทวธรรม


พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "ยักษ์ เรารู้ทั้งเทวธรรม, ทั้งประพฤติใน
เทวธรรมนั้น, เพราะเราอาศัยน้องชายคนเล็กนั่น พวกเราจึงต้องเข้าป่า
นี้, เหตุว่า มารดาของน้องชายนั่น ทูลขอราชสมบัติกะพระราชบิดาของ
เราทั้งสอง เพื่อประโยชน์แก่น้องชายนั้น, ก็พระบิดาของเราไม่พระราช-
ทานพรนั้น ทรงอนุญาตการอยู่ป่า เพื่อประโยชน์แก่การตามรักษาเรา
1. กรรมคือการทำความอ่อนน้อม.