เมนู

ค่อยกลับมารับราชสมบัติโดยกาลที่พ่อล่วงไป " ดังนี้แล้ว ทรงส่งไป.
สุริยกุมารเล่นอยู่ที่พระลานหลวง เห็นพระราชกุมารทั้งสองนั้น
ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจากปราสาท ทราบเหตุนั้นแล้วจึงออกไป
กับพระราชกุมารเหล่านั้นด้วย.

พระราชกุมารทั้งสองถูกรากษสจับไว้


ในกาลที่พระราชกุมารเหล่านั้น เข้าไปสู่หิมวันตประเทศ พระ-
โพธิสัตว์เสด็จแยกออกจากทาง นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่งแล้วตรัส
กะสุริยกุมารว่า " แน่ะพ่อ เจ้าจงไปสู่สระนั่น อาบน้ำและดื่มน้ำแล้ว
จงเอาใบบัวนำน้ำมาเพื่อพี่ทั้งสองบ้าง. " ก็สระนั้น เป็นสระที่รากษสน้ำ1ตน
หนึ่งได้จากสำนักแห่งท้าวเวสวัณ. ก็ท้าวเวสวัณรับสั่งกะรากษสน้ำนั้นว่า
" เว้นชนผู้รู้เทวธรรมเท่านั้น ชนเหล่าอื่นลงสู่สระนี้, เจ้าย่อมได้เพื่อเคี้ยว
กินชนเหล่านั้น. " ตั้งแต่นั้นมา รากษสน้ำนั้นถามเทวธรรมกะคนผู้ลง
แล้ว ๆ ลงสู่สระนั้น ย่อมเคี้ยวกินคนผู้ไม่รู้อยู่.
ฝ่ายสุริยกุมาร มิทันพิจารณาสระนั้น ลงไป, และถูกรากษสนั้น
ถามว่า " ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? " ก็ตอบว่า " พระจันทร์และพระอาทิตย์
ชื่อว่าเทวธรรม. " ลำดับนั้น รากษสกล่าวกะสุริยกุมารนั้นว่า " ท่านไม่
รู้เทวธรรม. " แล้วก็ฉุดลงน้ำไปพักไว้ในภพของตน.
ส่วนพระโพธิสัตว์ เห็นสุริยกุมารนั้นช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป
แม้จันทกุมารนั้น ถูกรากษสนั้นถามว่า " ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? " ก็ตอบ
ว่า " ทิศ 4 ชื่อว่า เทวธรรม, " รากษสน้ำก็ฉุดแม้จันทกุมารนั้นลงน้ำ
ไปพักไว้อย่างนั้นเหมือนกัน.
1. ปทานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2470 ว่า รากษส (รากสด) ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ เป็น
ชื่อพวกอสูรอย่างเลว มีนิสัยดุร้าย ชอบเที่ยวตามป่า ทำลายพิธีและคน.

พระโพธิสัตว์แสดงเทวธรรมแก่รากษส


พระโพธิสัตว์แม้เมื่อจันทกุมารนั้นเช้าอยู่ จึงคิดว่า "อันตรายจะ
พึงมี" ดังนี้แล้ว จึงไปเอง เห็นรอย (เท้า) ลงแห่งกุมารแม้ทั้งสองแล้ว
ก็ทราบว่า "สระนี้มีรากษสรักษา" จึงสอดพระขรรค์ไว้ ถือธนูได้ยืน
แล้ว. รากษสเห็นพระโพธิสัตว์นั้นไม่ลง (สู่สระ) จึงแปลงเพศเป็นชาย
ชาวป่า มากล่าวปราศรัยว่า "ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเดินทางอ่อนเพลีย
ทำไม จึงไม่ลงสู่สระนี้ อาบน้ำ, ดื่มน้ำ, เคี้ยวกินเหง้าบัว ประดับดอกไม้
แล้ว จึงไปเปล่า ?"
พระโพธิสัตว์พอเห็นบุรุษนั้นก็ทราบได้ว่า "ผู้นี้เป็นยักษ์" จึง
กล่าวว่า "ท่านจับเอาน้องชายทั้งสองของข้าพเจ้าไว้หรือ ?"
ยักษ์. เออ ข้าพเจ้าจับไว้.
โพธิสัตว์. จับไว้ทำไม ?
ยักษ์. ข้าพเจ้า ย่อมได้ (เพื่อกิน) ผู้ลงสู่สระนี้.
โพธิสัตว์. ก็ท่านย่อมได้ทุกคนเทียวหรือ ?
ยักษ์. เว้นผู้รู้เทวธรรม คนที่เหลือ ข้าพเจ้าย่อมได้.
โพธิสัตว์. ก็ท่านมีความต้องการด้วยเทวธรรมหรือ ?
ยักษ์. ข้าพเจ้ามีความต้องการ.
โพธิสัตว์. ข้าพเจ้าจักกล่าว (ให้ท่านฟัง).
ยักษ์. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกล่าวเถิด.
โพธิสัตว์. ข้าพเจ้ามีตัวสกปรก ไม่อาจกล่าวได้.
ยักษ์ให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำอันควรดื่ม ตบแต่งแล้ว