เมนู

เขา, ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก ย่อมเข้า
ถึงนรก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทณฺเฑสุ ความว่า ในพระขีณาสพ
ทั้งหลาย ผู้เว้น จากอาชญามีอาชญาทางกายเป็นอาทิ.
บทว่า อปฺปทุฏฺเฐสุ ความว่า ผู้ไม่มีความผิดในชนเหล่าอื่น หรือ
ในตน.
บาทพระคาถาว่า ทสนฺนนญฺญตร ฐานํ ความว่า ในเหตุแห่งทุกข์
10 อย่าง ซึ่งเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า เวทนํ ได้แก่ เวทนากล้า อันต่างด้วยโรคมีโรคในศีรษะ
เป็นต้น.
บทว่า ชานึ ได้แก่ ความเสื่อมทรัพย์ที่ได้โดยยาก.
บทว่า เภทนํ ได้แก่ ความสลายแห่งสรีระมีการตัดมือเป็นต้น.
บทว่า ครุกํ ได้แก่ (หรือ) อาพาธหนักต่างโดยโรคมีโรคอัมพาต1
มีจักษุข้างเดียว เปลี้ย ง่อย และโรคเรื้อนเป็นต้น.
บทว่า จิตฺตกฺเขปํ ได้แก่ ความเป็นบ้า.
บทว่า อุปสคฺคํ ได้แก่ (หรือ) ความขัดข้องแต่พระราชาเป็นต้น
ว่า ถอดยศลดตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้น.
บทว่า อพฺภกฺขานํ ความว่า การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรงเห็นปานนี้
ว่า ' กรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้นนี้ก็ดี, กรรมคือการประพฤติผิดในพระ-
ราชานี้ก็ดี เจ้าทำแล้ว.' ซึ่งตนไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน และไม่เคยคิดเลย.
1. Caralysis โรคเส้นประสาทพิการทำให้เนื้อตัวตาย.

บาทพระคาถาว่า ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ ได้แก่ ความย่อยยับแห่ง
เครือญาติ ผู้สามารถเป็นที่พำนักของตน.
บทว่า ปภงฺคุณํ คือ ความเสียหาย ได้แก่ ความผุพังไป. ก็
ข้าวเปลือกในเรือนของเขา ย่อมถึงความผุ. ทองคำถึงความเป็นถ่าน
เพลิง. แก้วมุกดาถึงความเป็นเมล็ดฝ้าย. กหาปณะถึงความเป็นชิ้นกระ-
เบื้องเป็นต้น. สัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ถึงความเป็นสัตว์บอดเป็นอาที.
สองบทว่า อคฺคิ ฑหตี ความว่า ในปีหนึ่ง เมื่อไฟผลาญอย่าง
อื่นแม้ไม่มี ไฟคืออสนิบาต ย่อมตกลงเผาผลาญ 2-3 ครั้ง. หรือไฟป่า
ตั้งขึ้นตามธรรมดาของมัน ย่อมไหม้เทียว.
บทว่า นิรยํ เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ผู้นั้น
ย่อมเข้าถึงนรก " ก็เพื่อแสดงฐานะ อันการกบุคคลแม้ถึงฐานะ 10 อย่าง
เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจุบันนี้แล้ว ก็พึงถึงในสัมปรายภพโดยอย่าง
เดียวกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ จบ.

8. เรื่องภิกษุมีภัณฑะมาก [114]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้มีภัณฑะ
มาก1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น นคฺคจริยา " เป็นต้น.

กุฎุมพีเตรียมเครื่องใช้ก่อนบวช


ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง มีภรรยาทำกาละแล้ว จึง
บวช. เขาเมื่อจะบวช ให้สร้างบริเวณ เรือนไฟและห้องเก็บภัณฑะเพื่อตน
บรรจุห้องเก็บภัณฑะแม้ทั้งหมดให้เต็มด้วยวัตถุทั้งหลายมีเนยใสและน้ำมัน
เป็นต้นแล้ว จึงบวช. ก็แล ครั้นบวชแล้วให้เรียกพวกทาสของตน มา
หุงต้มอาหารตามที่ตนชอบใจ แล้วบริโภค. ได้เป็นผู้มีภัณฑะมาก และ
มีบริขารมาก. ผ้านุ่งผ้าห่มในราตรีมีชุดหนึ่ง. กลางวันมีอีกชุดหนึ่ง. อยู่
ในวิหารหลังสุดท้าย.

ถูกพวกภิกษุต่อว่าแล้วนำตัวไปเฝ้าพระศาสดา


วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้น ตากจีวรและผ้าปูที่นอนอยู่. ภิกษุทั้งหลาย
เดินเที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ2 เห็นแล้ว จึงถามว่า " ผู้มีอายุ จีวรและ
ผ้าปูที่นอนเหล่านี้ของใคร ? " เมื่อเขาตอบว่า " ของผมขอรับ " ดังนี้
แล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตจีวร (เพียง)
3 ผืน. ก็ท่านบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีความปรารถนาน้อย3อย่าง
นี้ (ทำไม) จึงเป็นผู้มีบริขารมากอย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ได้นำภิกษุนั้นไปสู่
สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้ เป็น
ผู้มีภัณฑะมากเหลือเกิน."
1. สั่งสมสิ่งของ. 2. เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา. 3. มังคลัตถทีปนี ทุติยภาค หน้า 271
แก้ศัพท์นี้ว่า ไม่มีความปรารถนา.