เมนู

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถามนั้นว่า " ถ้าบุคคลพึงทำกรรมลามกคราว
เดียว. ควรพิจารณาในขณะนั้นแหละ สำเหนียกว่า " กรรมนี้ไม่สมควร
เป็นกรรมหยาบ " ไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อย ๆ. พึงบรรเทาเสีย ไม่ควรทำ
แม้ซึ่งความพอใจ หรือความชอบใจในบาปกรรมนั้น ซึ่งจะพึงเกิดขึ้น
เลย.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "
แก้ว่า " เพราะว่า ความสั่งสม คือความพอกพูนบาป เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์ คือย่อมนำแต่ทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. "
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเสยยสกัตเถระ จบ.

3. เรื่องนางลาชเทวธิดา [97]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางลาช-
เทวธิดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.
เรื่องเกิดขึ้นแล้วในเมืองราชคฤห์.

หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป


ความพิสดารว่า ท่านพระมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณ
แล้ว ออกในวันที่ 7 ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็น
หญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาว่า
" หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ " รู้ว่า " มีศรัทธา " ใคร่ครวญว่า " เธอ
จักอาจ เพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ ? " รู้ว่า " กุลธิดาเป็น
หญิงแกล้วกล้า จักทำการสงเคราะห์เรา, ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติ
เป็นอันมาก " จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี. กุลธิดา
พอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสระรีอันปีติ 5 อย่างถูกต้องแล้ว กล่าวว่า
นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า " ถือข้าวตอกไปโดยเร็ว เกลี่ยลงในบาตรของ
พระเถระแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางค1ประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาว่า " ท่าน
เจ้าข้า ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีสวนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว. "

จิตเลื่อมใสในทานไปเกิดในสวรรค์


พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "ความปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."
ฝ่ายนางไหว้พระเถระแล้ว พลางนึกถึงทานที่ตนถวายแล้วกลับไป. ก็ใน
1. คำว่า เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ 5 หมายความว่า ไหว้ได้องค์ 5 คือ
หน้าผาก 1 ฝ่ามือทั้ง 2 และเข่าทั้ง 2 จดลงที่พื้น จึงรวมเป็น 5.