เมนู

ธนญชัย. เมื่อพระองค์ส่งไป. ข้าพระองค์ก็จักไป พระเจ้าข้า
พิมพิสาร. ถ้าเช่นนั้น เธอจงทำการตระเตรียมไปเถิด พ่อ.
เศรษฐีนั้น ได้ทำกิจจำเป็นที่ควรทำของตนแล้ว. ฝ่ายพระราชา
ทรงทำสักการะใหญ่แก่เขา ทรงส่งพระเจ้าปเสนทิโกศลไปด้วยพระดำรัส
ว่า "ขอพระองค์จงพาเศรษฐีนี้ไปเถิด." ท้าวเธอพาธนญชัยเศรษฐีนั้น
เสด็จไปโดยการประทับแรมราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง บรรลุถึงสถานอันผาสุก
แห่งหนึ่งแล้ว ก็ทรงหยุดพัก.

การสร้างเมืองสาเกต


ครั้งนั้น ธนญชัยเศรษฐี ทูลถามท้าวเธอว่า " นี้เป็นแคว้นของ
ใคร ?"
ปเสนทิโกศล. ของเรา เศรษฐี.
ธนชัย. เมืองสาวัตถี แต่นี้ไป ไกลเท่าไร ?
ปเสนทิโกศล. ในที่สุด 7 โยชน์.
ธนญชัย. ภายในพระนครคับแคบ, ชนบริวารของข้าพระองค์มาก
ถ้าพระองค์ทรงโปรดไซร้, ข้าพระองค์พึงอยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ให้สร้างเมืองในที่นั้น
ได้พระราชทานแก่เศรษฐีนั้นแล้วเสด็จไป. เมืองได้นามว่า "สาเกต"
เพราะความที่แห่งสถานที่อยู่ ในประเทศนั้น อันเศรษฐีจับจองแล้วใน
เวลาเย็น.
แม้ในกรุงสาวัตถีแล บุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อว่าปุณณวัฒนกุมาร
เจริญวัยได้มีแล้ว. ครั้งนั้น มารดาบิดากล่าวกะเขาว่า "พ่อ เจ้าจงเลือก

เด็กหญิงคนหนึ่งในที่เป็นที่ชอบใจของเจ้า."
ปุณณะ. กิจด้วยภริยาเห็นปานนั้น ของผมไม่มี.
มารดาบิดา. เจ้าอย่าทำอย่างนั้น ลูก, ธรรมดาตระกูลที่ไม่มีบุตร
ตั้งอยู่ไม่ได้.

ลักษณะเบญจกัลยาณี


เขาถูกมารดาบิดาพูดรบเร้าอยู่ จึงกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ผม
เมื่อได้หญิงสาวประกอบพร้อมด้วยความงาม 5 อย่าง ก็จักทำตามคำของ
คุณพ่อคุณแม่."
มารดาบิดา. ก็ชื่อว่าความงาม 5 อย่างนั้น อะไรเล่า? พ่อ.
ปุณณะ. คือ ผมงาม, เนื้องาม, กระดูกงาม, ผิวงาม, วัยงาม.
ก็ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง แก้ปล่อยระชาย
ผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่, นี้ ชื่อว่าผมงาม. ริมผีปากเช่น
กับผลตำลึง (สุก) ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี, นี้ ชื่อว่าเนื้องาม.
ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชร ที่เขายกขึ้นตั้งไว้
และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีแล้ว, นี้ ชื่อว่ากระดูกงาม, ผิวพรรณ
ของหญิงดำไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นเลย ก็ดำสนิทประหนึ่ง
พวงอุบลเขียว, ของหญิงชาว ประหนึ่งพวงดอกกรรณิการ์. นี้ ชื่อว่า
ผิวงาม. ก็แลหญิงแม้คลอดแล้วตั้ง 10 ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว
ยังสาวพริ้งอยู่เทียว, นี้ ชื่อว่าวัยงาม ดังนี้แล.

เศรษฐีส่งพราหมณ์ไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณี


ครั้งนั้น มารดาบิดาของนายปุณณวัฒนกุมารนั้น เชิญพราหมณ์