เมนู

พระอานนท์. ยังเรียนธรรมอยู่ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อุบาสิกาคนไหน เรียนโดยเคารพ.
พระอานนท์. พระนางมัลลิกาเทวี เรียนโดยเคารพ ท่องโดย
เคารพ อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพ พระเจ้าข้า; ส่วน
ธิดาซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์1 ไม่เรียนโดยเคารพ ไม่ท่องโดยเคารพ
ไม่อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพได้เลยก็เดียว.

วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว ตรัสว่า "อานนท์
ธรรมดาธรรมที่เรา ( ผู้ตถาคต) กล่าวแล้ว ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง
ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดง โดยเคารพ ดุจว่าดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสี
(แต่ ) ไม่มีกลิ่น (หอม) ฉะนั้น. แต่ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
แก่ผู้ทำกิจทั้งหลายมีการฟังโดยเคารพเป็นต้น " ดังนี้แล้ว ได้ตรัสสอง
พระคาถาเหล่านี้ว่า :-
7. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ
เอ ํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต.
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต.
"ดอกไม้งามมีสี (แต่) ไม่มีกลิ่น (หอม)
แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผล
แก่ผู้ไม่ทำอยู่; (ส่วน) ดอกไม้งาม มีสีพร้อมด้วย

1. พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของท้าวมหานามผู้อนุชาของพระศาสดา, นับตามลำดับชั้น
พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระภาคิไนยของพระศาสดา.

กลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น
ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุจิรํ คือ งาม. บทว่า วณฺณวนฺตํ
คือ บริบูรณ์ด้วยสีและทรวดทรง. บทว่า อคนฺธกํ คือ ไร้จากกลิ่น
มีดอกหงอนไก่ ดอกกรรณิการ์เขา และดอกชัยพฤกษ์เป็นต้นเป็นประเภท.
บาทพระคาถาว่า เอวํ สุภาสิตา วาจา ความว่า พระพุทธพจน์ คือ
ปิฎก 3 ชื่อว่าวาจาสุภาษิต. พระพุทธพจน์นั้น เหมือนดอกไม้สมบูรณ์
ด้วยสีและทรวดทรง ( แต่ ) ไม่มีกลิ่น ( หอม). เหมือนอย่างว่า
ดอกไม้ไม่มีกลิ่น ( หอม ), กลิ่น (หอม ) ย่อมไม่แผ่ไป (คือไม่ฟุ้ง
ไป) ในสรีระของผู้ทัดทรงดอกไม้อันไม่มีกลิ่นนั้น ฉันใด, แม้พระ-
พุทธพจน์นี้ ก็ฉันนั้น ย่อมไม่นำกลิ่นคือการฟัง กลิ่นคือการจำทรง
และกลิ่นคือการปฏิบัติมาให้ ชื่อว่าย่อมไม่มีผลแก่ผู้ (ซึ่ง) ไม่ตั้งใจ
ประพฤติพระพุทธพจน์นั้นโดยเอื้อเฟื้อ ด้วยกิจทั้งหลายมีการฟังเป็นต้น,
ชื่อว่าผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำในพระพุทธพจน์นั้น; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา
จึงได้ตรัสว่า "วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่."
บทว่า สคนฺธกํ ได้แก่ ดอกจำปาและบัวเขียวเป็นต้นเป็นประเภท.
บทว่า เอวํ เป็นต้น ความว่า กลิ่น (หอม) ย่อมแผ่ไป (คือฟุ้งไป)
ในสรีระของผู้ทัดทรงดอกไม้นั้น ฉันใด; แม้วาจาสุภาษิต กล่าวคือ
พระพุทธพจน์ปิฎก 3 ก็ฉันนั้น ย่อมมีผล คือชื่อว่าย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก เพราะนำกลิ่นคือการฟัง กลิ่นคือการจำทรง กลิ่นคือการ