เมนู

ก่อนเห็นเราแล้วไม่ลุกขึ้น (ต้อนรับ );
อุบาสก. ข้าแต่สมมติเทพ ขึ้นชื่อว่า สถานเป็นที่เที่ยวของเหล่า
คฤหัสถ์ เป็นสถานที่มีโทษ, ขอพระองค์จงรับสั่งให้นิมนต์บรรพชิต
รูปหนึ่งมาแล้ว จงให้บอกธรรมเถิด.

พระอานนท์สอนธรรมพระราชเทวีทั้งสอง


พระราชาทรงส่งฉัตตปาณิอุบาสกนั้นไปด้วยพระกระแสว่า "ดีละ
ผู้เจริญ. ขอท่านจงไปเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่ที่เฝ้าพระศาสดาทูลขอ
กะพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พระนางมัลลิกาเทวีและพระนางวาสภขัตติยา
พูดอยู่ว่า 'จักเรียนธรรม' ขอพระองค์กับภิกษุ 500 รูป จงเสด็จไป
สู่เรือนของข้าพระองค์เนืองนิตย์ ทรงแสดงธรรมแก่หล่อนทั้งสอง."
พระศาสดา. ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไปในที่แห่งเดียว
เนืองนิตย์ ไม่มี มหาบพิตร.
พระราชา. ถ้าอย่างนั้น ขอจงประทานภิกษุรูปอื่น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ได้ทรงมอบให้เป็นภาระแก่พระอานนท์เถระ. พระ-
เถระ ไปแสดงพระบาลีแก่พระนางเหล่านั้นเนืองนิตย์. ในพระนาง
เหล่านั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้เรียน ได้ท่อง (และ) ให้พระเถระ
รับรองพระบาลีโดยเคารพ. ส่วนพระนางวาสภขัตติยา ไม่เรียน ไม่ท่อง
โดยเคารพทีเดียว ( และ) ไม่อาจให้พระเถระรับรองพระบาลีโดยเคารพ
ได้. ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า "อานนท์ อุบาสิกา
(ทั้งสอง) ยังเรียนธรรมอยู่หรือ ?"

พระอานนท์. ยังเรียนธรรมอยู่ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อุบาสิกาคนไหน เรียนโดยเคารพ.
พระอานนท์. พระนางมัลลิกาเทวี เรียนโดยเคารพ ท่องโดย
เคารพ อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพ พระเจ้าข้า; ส่วน
ธิดาซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์1 ไม่เรียนโดยเคารพ ไม่ท่องโดยเคารพ
ไม่อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพได้เลยก็เดียว.

วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว ตรัสว่า "อานนท์
ธรรมดาธรรมที่เรา ( ผู้ตถาคต) กล่าวแล้ว ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง
ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดง โดยเคารพ ดุจว่าดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสี
(แต่ ) ไม่มีกลิ่น (หอม) ฉะนั้น. แต่ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
แก่ผู้ทำกิจทั้งหลายมีการฟังโดยเคารพเป็นต้น " ดังนี้แล้ว ได้ตรัสสอง
พระคาถาเหล่านี้ว่า :-
7. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ
เอ ํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต.
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต.
"ดอกไม้งามมีสี (แต่) ไม่มีกลิ่น (หอม)
แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผล
แก่ผู้ไม่ทำอยู่; (ส่วน) ดอกไม้งาม มีสีพร้อมด้วย

1. พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของท้าวมหานามผู้อนุชาของพระศาสดา, นับตามลำดับชั้น
พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระภาคิไนยของพระศาสดา.