เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า น ปเรสํ วิโลมานิ
ความว่า ไม่ควรทำคำแสยงขน คือคำหยาบ ได้แก่คำตัดเสียซึ่งความรัก
ของตนเหล่าอื่นไว้ในใจ.
บาทพระคาถาว่า น ปเรสํ กตากตํ ความว่า ไม่ควรแลดู
กรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำแล้ว ของคนเหล่าอื่น อย่างนั้นว่า " อุบาสก
โน้น ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส, แม้วัตถุมีภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น
ในเรือน เขาก็ไม่ให้, สลากภัตเป็นต้น เขาก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมี
จีวรเป็นต้น ไม่มีแก่อุบาสกนั่น; อุบาสิกาโน้นก็เหมือนกัน ไม่มี
ศรัทธา ไม่เลื่อมใส, ภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น ในเรือน นางก็ไม่ให้,
สลากภัตเป็นต้นก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ก็ไม่มีแก่อุบาสิกา
นั้น. ภิกษุโน้นก็เช่นกัน ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทั้งไม่ทำอุปัชฌายวัตร,
ไม่ทำอาจริยวัตร, ไม่ทำอาคันตุกวัตร, ไม่ทำวัตรเพื่อภิกษุผู้เตรียมจะไป,
ไม่ทำวัตรที่ลานพระเจดีย์. ไม่ทำวัตรในโรงอุโบสถ. ไม่ทำวัตรที่หอฉัน,
ไม่ทำวัตรมีวัตรในเรือนไฟเป็นอาทิ, ทั้งธุดงค์ไร ๆ ก็ไม่มีแก่เธอ แม้
เหตุสักว่าความอุตสาหะ เพื่อความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ก็ไม่มี."
บาทพระคาถาว่า อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย ความว่า กุลบุตร
ผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อระลึกถึงโอวาท1นี้ว่า "บรรพชิต พึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า 'วันคืนล่วงไป ๆ เราทำอะไรอยู่" ดังนี้แล้ว ก็พึงแลดูกิจ
ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนอย่างนั้นว่า "เราไม่อาจจะยกตนขึ้นสู่
ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เกษมจากโยคะ
1. อัง. ทสก. 24/92.

หรือหนอ ?"
ในกาลจบเทศนา อุบาสิกาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
มีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องปาฏิกาชีวก จบ.

7. เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก [39]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภฉัตตปาณิ-
อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา รุจิรํ ปุปฺผํ" เป็นต้น.

ฉัตตปาณิเข้าเฝ้าพระศาสดา


ความพิสดารว่า ในกรุงสาวัตถี ยังมีอุบาสก ( คนหนึ่ง ) ชื่อ
ฉัตตปาณิ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เป็นอนาคามี. อุบาสกนั้น เป็นผู้
รักษาอุโบสถแต่เช้าตรู่ ได้ไปยังที่บำรุงของพระศาสดา. จริงอยู่ ชื่อว่า
อุโบสถกรรม หามีแก่อริยสาวกผู้เป็นอนาคามีทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่ง
การสมาทานไม่ พรหมจรรย์และการบริโภคภัตครั้งเดียวของอริยสาวก
ผู้เป็นอนาคามีเหล่านั้น มาแล้วโดยมรรคนั่นแหละ เพราะเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " มหาบพิตร1 นางช่างหม้อชื่อฆฏิการแล
เป็นผู้บริโภคภัตครั้งเดียว มีปกติประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรม." โดยปกติทีเดียว ท่านอนาคามีทั้งหลาย เป็นผู้บริโภคภัต
ครั้งเดียว และมีปกติประพฤติพรหมจรรย์อย่างนั้น. อุบาสกแม้นั้น ก็
เป็นผู้รักษาอุโบสถอย่างนั้นเหมือนกัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม
แล้วนั่งฟังธรรมกถา.

ฉัตตปาณิไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล


ในสมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปสู่ที่บำรุงของพระศาสดา.
1. ฆฏการสูตร ม.ม. 13/375.