เมนู

นั้นด้วยโคมัยสด โปรยดอกไม้ซึ่งมีข้าวตอกเป็นที่ 5 ลง แล้วปูลาด
อาสนะอันควรแก่ค่ามาก เพื่อประโยชน์แก่การประทับนั่งของพระศาสดา.
จริงอยู่ พวกมนุษย์ที่ไม่คุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า ย่อมไม่รู้จักการปูลาด
อาสนะ.

พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนอุบาสิกา


อนึ่ง ชื่อว่ากิจ ( เนื่อง ) ด้วยผู้แสดงทาง ย่อมไม่มีแก่พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย: เพราะหนทางทั้งหมดแจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้วว่า "ทางนี้ไปนรก, นี้ไปกำเนิดดิรัจฉาน, นี้ไปเปตวิสัย, นี้ไป
มนุษยโลก, นี้ไปเทวโลก, นี้ไปอมตนิพพาน" ในวันที่ทรงยังหมื่นแห่ง
โลกธาตุให้หวั่นไหว แล้วบรรลุสัมโพธิที่โคนต้นโพธินั่นแล, จึงไม่มี
คำที่ควรกล่าวในหนทางแห่งสถานที่ต่าง ๆ มีคามและนิคมเป็นต้นเลย
เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรแล้ว จึงเสด็จไปสู่ประตูเรือน
ของมหาอุบาสิกาแต่เช้าตรู่. นางออกมาจากเรือน ถวายบังคมพระศาสดา
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ อัญเชิญให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน ให้ประทับนั่ง
เหนืออาสนะแล้วถวายทักษิโณทก อังคาสด้วยชาทนียะ และโภชนียะ
อันประณีต. อุบาสิกาประสงค์จะให้พระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ทรงกระทำอนุโมทนาจึงรับบาตรแล้ว.

อุบาสิกาฟังธรรมแล้วถูกอาชีวกด่า


พระศาสดา ทรงเริ่มธรรมกถาสำหรับอนุโมทนา ด้วยพระสุรเสียง
อันไพเราะ. อุบาสิกาฟังธรรมพลางให้สาธุการว่า " สาธุ สาธุ. "
อาชีวกนั่งอยู่ห้องหลังนั่นแล ได้ยินเสียงนางให้สาธุการแล้วฟังธรรมอยู่

ไม่อาจจะอดทนอยู่ได้ จึงออกไป ด้วยคิดว่า " ทีนี้แหละ นางไม่เป็น
ของเราละ" ดังนี้แล้ว ด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่าง ๆ ว่า
" อีกาลกิณี มึงเป็นคนฉิบหาย. มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั่นเถิด"
ดังนี้เป็นต้น หนีไปแล้ว.

อุบาสิกามีจิตฟุ้งซ่าน


อุบาสิกาละอาย เพราะถ้อยคำของอาชีวกนั้น ไม่อาจจะส่งจิตซึ่ง
ถึงความฟุ้งซ่าน1 ไปตามกระแสแห่งเทศนาได้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "อุบาสิกา เธอไม่อาจทำจิต
ให้ไปตาม ( แนว ) เทศนาได้หรือ ?"
อุบาสิกา. พระเจ้าค่ะ เพราะถ้อยคำของอาชีวกนี้ จิตของข้า-
พระองค์ เข้าถึงความฟุ้งซ่านเสียแล้ว .
พระศาสดา ตรัสว่า "ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาค
กันเห็นปานนี้กล่าว, การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจ
ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้นจึงควร" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
6. น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขตยฺย กตานิ อกตานิ จ.
"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้
ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน
เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของตนเท่านั้น."

1. อญฺญถตฺตํ แปลตามศัพท์ว่า ซึ่งความเป็นอย่างอื่น.