เมนู

ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่โดยครู่เดียว กระทำ
ให้หมดพยศแล้ว ให้เขาถือขนมนำมาสู่พระเชตวัน กระทำไว้ตรง
พระพักตร์พระศาสดาแล้ว ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล น่าอัศจรรย์ พระ-
เถระมีอานุภาพมาก.
พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพวกภิกษุ ด้วยพระโสตธาตุอัน
เป็นทิพย์ เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง
ประชุมด้วยเรื่องอะไรกันหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วย
เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสสรรเสริญพระเถระว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอัน
ภิกษุผู้ทรมาน ไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ไม่ให้
สกุลชอกช้ำ ไม่เบียดเบียน (สกุล) เป็นดุจแมลงภู่เคล้าเอาละอองจาก
ดอกไม้ เข้าไปหา (สกุล) แล้ว ควรให้รู้พุทธคุณ, โมคคัลลานะ
บุตรของเราก็เป็นเช่นนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อเหฐยํ
ปเลติ รสมาทาย เอวํ คาเม มุนี จเร.
"มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยัง
ดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบิน
รูปฉะนั้น."

แก้อรรถ


ชาติแห่งสัตว์ผู้กระทำน้ำหวานชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ภมร ใน
พระคาถานั้น. บทว่า ปุปฺผํ เป็นต้น ความว่า แมลงภู่เมื่อบินไปในสวน
ดอกไม้ ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ คือว่า ไม่ให้เสียหาย บินไป.

บทว่า ปเลติ ความว่า ครั้นบินไปอย่างนั้นแล้ว ดื่มรสจนพอ
ความต้องการ ดาบเอารสแม้อื่นไปเพื่อประโยชน์แก่การกระทำน้ำหวาน
แล้วบินไป. แมลงภู่นั้น ร่อนลงสู่ป่าชัฏแห่งหนึ่งแล้ว เก็บรสซึ่งเจือด้วย
ธุลีนั้นไว้ในโพรงไม้แห่งหนึ่งแล้ว กระทำรสน้ำหวานให้เป็นน้ำผึ้งโดย
ลำดับ; ดอก หรือสี และกลิ่นของดอกไม้นั้นหาชอกช้ำไป เพราะการ
เที่ยวไปในสวนดอกไม้แห่งแมลงภู่นั้นเป็นปัจจัยไม่ ที่แท้สิ่งทั้งหมดคง
เป็นปกติอยู่นั่นเอง.
บาทพระคาถาว่า เอวํ คาเม มุนี จเร ความว่า พระอนา-
คาริยมุนี ต่างโดยเสขะและอเสขะก็ฉันนั้น เที่ยวรับภิกษาในบ้านโดย
ลำดับสกุล.
แท้จริง การเลื่อมศรัทธาหรือการเสื่อมโภคะหามีแก่สกุลทั้งหลาย
เพราะการเที่ยวไปในบ้านของมุนีนั้นเป็นปัจจัยไม่, ศรัทธาก็ดี โภคะก็ดี
คงเป็นปกติอยู่นั่นเอง; ก็แล พระเสขมุนีและอเสขมุนี ครั้นเที่ยวไป
อย่างนั้นออกมาแล้ว. พระเสขมุนี ปูสังฆาฏิ นั่ง ณ ที่ที่สบายด้วยน้ำ
ภายนอกบ้านก่อนแล้วพิจารณา (อาหารบิณฑบาต) ด้วยสามารถแห่ง
การเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าปิดแผล และเนื้อแห่งบุตร แล้ว
ฉันบิณฑบาต หลบเข้าไปสู่ไพรสณฑ์เห็นปานนั้น พิจารณากัมมัฏฐาน
เป็นไปภายใน กระทำมรรค 4 และผล 4 ให้อยู่ในเงื้อมมือให้ได้, ส่วน
พระอเสขมุนี ประกอบการอยู่สบายในทิฏฐธรรมเนือง ๆ บัณฑิตพึง
ทราบความที่มุนีนั้นควรเห็นสมกับแมลงภู่โดยการกระทำน้ำหวานเช่นนี้.
แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระขีณาสพ.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.
พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว เพื่อจะประกาศคุณ
ของพระเถระแม้ให้ยิ่ง จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะทรมาน
เศรษฐีผู้มีความตระหนี่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน เธอก็
ทรมานเขาแล้ว ให้รู้ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งกรรมและผลแห่งกรรมเหมือน
กัน" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ ทรงนำอดีตนิทาน
(มาสาธก) ตรัสอิลลีสชาดก1นี้ก็ :-
" คนทั้งสองเป็นคนกระจอก คนทั้งสองเป็นคน
ค่อม คนทั้งสองเป็นคนมีตาเหล่ คนทั้งสองมีย่อม
บนศีรษะ, เราไม่รู้จักเศรษฐีชื่ออิลลีสะ (ว่า) คน
ไหน?"
ดังนี้แล.
เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ จบ.
1. ขุ. ชา. 27/ข้อ 78 อรถกถา 2/163.

6. เรื่องปาฏิกาชีวก [38]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภอาชีวกชื่อ
ปาฏิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ปเรสํ วิโลมานิ" เป็นต้น.

ชาวบ้านสรรเสริญธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า


ดังได้สดับมา หญิงแม่เรือนคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ปฏิบัติอาชีวก
ชื่อปาฏิกะ ตั้งไว้ในฐานะดังลูก. พวกมนุษย์ในเรือนใกล้เคียงของนาง
ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มาพรรณนาพระพุทธคุณโดยประการ
ต่าง ๆ เป็นต้นว่า " แหม ! พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์ (นัก)."

นางอยากไปฟังธรรมแต่ไม่สมประสงค์


หญิงแม่เรือนนั้น ฟังถ้อยคำสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว
ประสงค์จะไปสู่วิหารแล้วฟังธรรม จึงเล่าความนั้นแก่อาชีวก แล้วกล่าว
ว่า "พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันจักไปสำนักของพระพุทธเจ้า."
อาชีวกนั้นห้ามว่า " อย่าไปเลย" แล้วก็เลยห้ามนางแม้ผู้อ้อนวอน
อยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ เสียทีเดียว.
นางคิดว่า " พระผู้เป็นเจ้านี้ ไม่ให้เราไปวิหารฟังธรรม. เรา
จักนิมนต์พระศาสดามา แล้วฟังธรรมในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ใน
เวลาเย็น จึงเรียกบุตรชายมาแล้วส่งไปด้วยคำว่า " เจ้าจงไป, จงนิมนต์