เมนู

เขาปูลาดไว้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. มหาเศรษฐีได้ถวายทักษิโณทก
แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, ภรรยาใส่ขนมในบาตรของพระ-
ตถาคตเจ้าแล้ว แม้มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยา ก็บริโภคขนมพอแก่
ความต้องการ. ความหมดสิ้นของขนมไม่ปรากฏเลย. แม้เมื่อเขาถวาย
ขนมแก่ภิกษุในวิหารทั้งสิ้นและ (ให้ ) แก่คนกินเดนทั้งหลายแล้ว
ความหมดสิ้นไป (แห่งขนม) ก็ไม่ปรากฏอยู่นั่นเอง. เขาทั้งสองจึง
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขนมหาถึงความ
หมดไปไม่."
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ถ้ากระนั้น ท่านทั้งสองจงทิ้งเสียที่
ซุ้มประตูพระเชตวัน." เขาทั้งสองก็ทิ้งที่เงื้อมซึ่งไม่ไกลซุ้มประตู
(พระเชตวัน). แม้ทุกวันนี้ ที่นั้น ก็ยังปรากฏชื่อว่า "เงื้อมขนมเบื้อง."
มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรข้างหนึ่งแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว.
ในกาลจนอนุโมทนา สามีและภรรยาแม้ทั้งสองดำรงอยู่ในโสดา-
ปัตติผลแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ขึ้นบันไดที่ซุ้มประตู (พระ-
เชตวัน) แล้ว สถิตอยู่ที่ปราสาทของตนทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐี
ได้เกลี่ยทรัพย์จำนวน 80 โกฏิ ในพระพุทธศาสนานั่นแหละ.

พวกภิกษุสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ


ในเวลาเย็นวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม นั่งกล่าว
คุณกถาของพระเถระว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดู
อานุภาพของพระมหาโมคคัลลานะ ท่านชื่อว่าไม่กระทบกระทั่งศรัทธา

ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่โดยครู่เดียว กระทำ
ให้หมดพยศแล้ว ให้เขาถือขนมนำมาสู่พระเชตวัน กระทำไว้ตรง
พระพักตร์พระศาสดาแล้ว ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล น่าอัศจรรย์ พระ-
เถระมีอานุภาพมาก.
พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพวกภิกษุ ด้วยพระโสตธาตุอัน
เป็นทิพย์ เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง
ประชุมด้วยเรื่องอะไรกันหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วย
เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสสรรเสริญพระเถระว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอัน
ภิกษุผู้ทรมาน ไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ไม่ให้
สกุลชอกช้ำ ไม่เบียดเบียน (สกุล) เป็นดุจแมลงภู่เคล้าเอาละอองจาก
ดอกไม้ เข้าไปหา (สกุล) แล้ว ควรให้รู้พุทธคุณ, โมคคัลลานะ
บุตรของเราก็เป็นเช่นนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อเหฐยํ
ปเลติ รสมาทาย เอวํ คาเม มุนี จเร.
"มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยัง
ดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบิน
รูปฉะนั้น."

แก้อรรถ


ชาติแห่งสัตว์ผู้กระทำน้ำหวานชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ภมร ใน
พระคาถานั้น. บทว่า ปุปฺผํ เป็นต้น ความว่า แมลงภู่เมื่อบินไปในสวน
ดอกไม้ ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ คือว่า ไม่ให้เสียหาย บินไป.