เมนู

1. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.
เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.
"ใคร จักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้ และยมโลกกับ
มนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก, ใคร จักเลือก
บทธรรม อันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการ
ผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น. พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดิน
และยมโลกกับมนุสสโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก. พระ-
เสขะจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือน
นายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โก อิมํ ความว่า ใคร (จักรู้
ชัด) ซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.
บทว่า วิเชสฺสติ ความว่า จักรู้แจ้ง คือแทงตลอด ได้แก่ ทำให้
แจ้ง ด้วยญาณของตน.
บทว่า ยมโลกญฺจ ได้แก่ อบายโลก 4 อย่างด้วย.
สองบทว่า อิมํ สเทวกํ ความว่า ใคร จักรู้ชัด คือจักทราบชัด
ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งมนุสสโลกนี้กับเทวโลกด้วย พระศาสดา
ย่อมตรัสถามดังนี้.
บาทพระคาถาว่า โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ ความว่า ใคร จัก
เลือก คือคัด ได้แก่พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง ซึ่งบทธรรม

กล่าวคือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ1 ที่ชื่อว่าอันเราแสดงดีแล้ว เพราะ
ความเป็นธรรมอันเรากล่าวแล้วตามความเป็นจริง เหมือนนายมาลาการผู้
ฉลาดเลือกดอกไม้อยู่ฉะนั้น.
บทว่า เสโข เป็นต้น ความว่า พระอริยบุคคล 7 จำพวก
ตั้งแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค
ชื่อว่าพระเสขะ เพราะยังศึกษาสิกขา 3 เหล่านี้ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตต-
สิกขา อธิปัญญาสิกขา คร่าออกอยู่ซึ่งฉันทราคะ2จากอัตภาพนั้น ด้วย
อรหัตมรรค ชื่อว่าจักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่แทงตลอด ทำให้แจ้ง
ซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.
บทว่า ยมโลกญฺจ เป็นต้น ความว่า พระเสขะนั้นนั่นแหละ
จักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่แทงตลอด ทำให้แจ้ง ซึ่งยมโลก มี
ประการอันกล่าวแล้วอย่างนั้น และมนุสสโลกนี้ กับทั้งเทวโลกทั้งหลาย
ชื่อว่าพร้อมทั้งเทวโลก. พระผู้ยังต้องศึกษา 7 จำพวกนั้นแหละ ชื่อว่า
เสขะ. อธิบายว่า นายมาลาการผู้ฉลาด เข้าไปสู่สวนดอกไม้แล้ว เว้น
ดอกไม้ที่อ่อนและตูม ที่สัตว์เจาะ ที่เหี่ยว และที่เกิดเป็นปมเสียแล้ว
เลือกเอาเฉพาะแต่ดอกไม้ที่งาม ที่เกิดดีแล้ว ชื่อฉันใด พระเสขะ จักเลือก
คือคัด ได้แก่พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง แม้ซึ่งบทแห่งโพธิ-
ปักขิยธรรมนี้ ที่เรากล่าวดีแล้ว คือแสดงดีแล้ว ฉันนั้นนั่นแล.
1. คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8.
2. ฉันทราคะ แปลว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ.

พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาเองทีเดียว. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ
500 รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว, เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 500 รูปผู้ขวนขวายในปฐวีกถา จบ.

2. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน [34]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เผณูปมํ"
เป็นต้น.

พระเถระเจริญมรีจิกัมมัฏฐาน


ดังได้สดับมา พระเถระนั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา
แล้วคิดว่า " เราจักทำสมณธรรม " ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ป่า พากเพียร
พยายามแล้ว ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัตได้ จึงกลับมายังสำนักพระศาสดา
ด้วยตั้งใจว่า " จักทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานให้วิเศษ, "
เห็นพยับแดดในระหว่างทาง เจริญมรีกัมมัฏฐานว่า " พยับแดดนี้
ตั้งขึ้นแล้วในฤดูร้อน ย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ ณ ที่ไกล
ดุจมีรูปร่าง, แต่ไม่ปรากฏเลย แก่บุคคลผู้มาสู่ที่ใกล้ฉันใด; แม้อัตภาพนี้
ก็มีรูปเหมือนอย่างนั้น เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นและเสื่อมไป" เดินมาแล้ว
เมื่อยล้าในหนทาง อาบน้ำในแน่น้ำอจิรวดี นั่งที่ร่ม (ไม้) ริมฝั่ง
แม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวแห่งหนึ่ง เห็นฟองน้ำใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยกำลังแห่ง
น้ำกระทบกันแล้วแตกไป ได้ถือเอาเป็นอารมณ์ว่า " แม้อัตภาพนี้ ก็มี
รูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นแล้วก็แตกไป."
1. กัมมัฏฐานมีอันพิจารณาพยับแดดเป็นอารมณ์.