เมนู

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้วทรง
เตือนอีก แล้วตรัสว่า " ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจ
เพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;
เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว, ส่วน
บัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น"
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
"บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาก็ไม่มี
ถึงพวกพ้องก็ไม่มี, เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ
แล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล
พึงชำระทางไปพระนิพพานโดยเร็วทีเดียว."

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นใน
แผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก
บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

นางปฏาจาราทูลขอบวช


ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะ
พระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชา
แล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า " ปฏาจารา " เพราะนางกลับ
ความประพฤติได้.1 วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.
1. บาลีว่า เพราะมีความประพฤติเว้นจากผืนผ้า ดังนี้ก็มี.

น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด. ครั้งที่ 2 น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไป
ไกลกว่านั้น. ครั้งที่ 3 น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลแม้กว่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้. นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง 3 แล้ว คิดว่า
"สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก, ตาย
เสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ 2 ไหลไปไกลกว่านั้น, ตาย
เสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ 3 ไหลไปไกลแม้กว่านั้น."
พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดัง
ประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า "ปฏาจารา ข้อนั้น
อย่างนั้น, ด้วยว่าความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่า ความ
เป็นอยู่ 100 ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์"
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
12. โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺฑยํ.
"ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่
พึงเป็นอยู่ 100 ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของ
ผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า
ความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถา อปสฺสํ อุทยพฺพยํ ความว่า
ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ ด้วยลักษณะ 25 แห่งปัญจขันธ์.