เมนู

บุรพกรรมของพระสัปปทาสเถระ


ดังได้สดับมา ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า บุตรแห่งคฤหบดี
ผู้หนึ่ง ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว เกิดความสลดใจจึงบรรพชา ได้
อุปสมบทแล้ว. โดยสมัยอื่นอีก เมื่อความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น, จึงบอกแก่
ภิกษุผู้สหายรูปหนึ่ง. สหายนั้น กล่าวโทษในภาวะแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ
เนือง ๆ. ภิกษุนอกนี้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ยินดียิ่งในพระศาสนา จึงนั่ง
ขัดสมณบริขารทั้งหลายซึ่งมลทินจับในเวลาที่หน่ายในก่อน ให้หมดมลทิน
ใกล้ขอบสระแห่งหนึ่ง. ฝ่ายสหายของภิกษุนั้นนั่งในที่ใกล้นั้นเอง. ลำดับ
นั้น ภิกษุนั้นกล่าวกะสหายนั้นอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ผมเมื่อสึก ได้
ปรารถนาจะถวายบริขารเหล่านี้แก่ท่าน." สหายนั้นเกิดโลภขึ้น คิดว่า
"เราจะต้องการอะไรด้วยภิกษุนี้ผู้ยังบวชหรือสึกเสีย, บัดนี้ เราจักยัง
บริขารทั้งหลายให้ฉิบหาย." ตั้งแต่นั้นมา สหายนั้นพูดเป็นต้นว่า "ผู้มี
อายุ บัดนี้จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของพวกเรา ผู้ซึ่งมีมือถือกระเบื้อง
เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวในสกุลผู้อื่น ? (ทั้ง) ไม่ทำการสนทนาปราศรัย
กับบุตรและภรรยา" ดังนี้แล้ว ก็กล่าวคุณแห่งภาวะของคฤหัสถ์. ภิกษุ
นั้นฟังคำของสหายนั้นแล้ว ก็กระสันขึ้นอีก คิดว่า "สหายนี้เมื่อเรา
กล่าวว่า 'ผมกระสัน' ก็กล่าวโทษในภาวะแห่งคฤหัสถ์ก่อน บัดนี้
กล่าวถึงคุณเนือง ๆ, เหตุอะไรหนอแล ? รู้ว่า "เพราะความโลภใน
สมณบริขารเหล่านี้" จึงกลับจิตของตนเสียด้วยตนเองทีเดียว. เพราะ
ความที่ภิกษุรูปหนึ่งถูกตนทำให้กระสันแล้ว ในกาลแห่งพระกัสสป-
พุทธเจ้า บัดนี้ความเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็สมณธรรมใดอันภิกษุนั้นบำเพ็ญมา 2 หมื่นปีครั้งนั้น, สมณธรรมนั้น

เกิดเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุนั้น ในกาลบัดนี้แล.

ชีวิตของผู้ปรารภความเพียรวันเดียวประเสริฐ


ภิกษุเหล่านั้นฟังเนื้อความนี้จากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูล
ถามยิ่งขึ้นว่า "พระเจ้าข้า ได้ยินว่า ภิกษุนี้ยืนจดคมมีดโกนที่ก้านคออยู่
เทียวบรรลุพระอรหัต, พระอรหัตมรรคเกิดขึ้นได้โดยขณะเพียงเท่านั้น
หรือหนอแล ?"
พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ยกเท้าขึ้นวางบนพื้น เมื่อเท้ายังไม่ทันถึงฟื้นเลย พระอรหัต-
มรรคก็ได้เกิดขึ้น; แท้จริง ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะของท่านผู้ปรารภ
ความเพียร ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ 100 ปี ของบุคคลผู้เกียจคร้าน"
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
11. โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
" ผู้ใดเกียจคร้านมีความเพียรอันทราม พึง
เป็นอยู่ 100 ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของท่านผู้
ปรารภความเพียรมั่น ประเสริฐกว่าชีวิต ของผู้นั้น.
"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสีโต ได้แก่ บุคคลผู้ยังเวลาให้ล่วง
ไปด้วยวิตก 3 มีกามวิตกเป็นต้น.