เมนู

11. เรื่องพระสัปปทาสเถระ [91]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสัปปทาส-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสตํ ชีเว" เป็นต้น.

พระเถระให้งูกัดตัว


ดังได้สดับมา กุลบุตรผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว โดยสมัยอื่นอีก กระสันขึ้น
จึงคิดว่า "ชื่อว่าภาวะแห่งคฤหัสถ์ ไม่ควรแก่กุลบุตรเช่นเรา. แม้การ
ดำรงอยู่ในบรรพชาแล้วตายไป เป็นความดีของเรา" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยว
คำนึงหาอุบายเพื่อมรณะของตนอยู่.
ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำแต่เช้าตรู่ ทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ไปสู่วิหาร เห็นงูที่โรงไฟ จึงใส่งูนั้นไว้ในหม้อใบหนึ่งปิดหม้อแล้วถือ
ออกจากวิหาร. ฝ่ายภิกษุผู้กระสัน ทำภัตกิจแล้วเดินมาเห็นภิกษุเหล่านั้น
จึงถามว่า "นี่อะไร ? ผู้มีอายุ" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "งู ผู้มีอายุ"
จึงถามว่า "จักทำอะไรด้วยงูนี้ ?" ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นว่า "เราจัก
ทิ้งมัน" คิดว่า "เราจักให้งูนี้กัดตัวตายเสีย" จึงกล่าวว่า "นำมาเถิด,
กระผมจักทิ้งมันเอง" รับหม้อจากมือของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิ่งอยู่ในที่
แห่งหนึ่งแล้ว ก็ให้งูนั้นกัดตน. งูไม่ปรารถนาจะกัด. ภิกษุนั้นเอามือ

ล้วงลงในหม้อแล้ว คนข้างโน้นข้างนี้, เปิดปากงูแล้วสอดนิ้วมือเข้าไป.
งูก็ไม่กัดเธอเลย. เธอคิดว่า "งูนี้มิใช่งูมีพิษ, เป็นงูเรือน" จึงทิ้งงูนั้น
แล้วได้ไปยังวิหาร.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธอว่า "ผู้มีอายุ ท่านทิ้งงูแล้ว
หรือ ?"
ภิกษุกระสัน . ผู้มีอายุ นั้นจะไม่ใช่งู (พิษ), นั่นเป็นงูเรือน.
ภิกษุ. ผู้มีอายุ งู (พิษ) ทีเดียว แผ่แม่เบี้ยใหญ่ ขู่ฟู่ฟู่ พวก
ผมจับได้โดยยาก, เพราะเหตุไร ท่านจึงว่าอย่างนี้ ?
ภิกษุกระสัน. ผู้มีอายุ ผมให้มันกัดอวัยวะบ้าง สอดนิ้วมือเข้าใน
ปากบ้าง ก็ไม่อาจให้มันกัดได้.
พวกภิกษุฟังคำนั้นแล้ว ได้นิ่งเสีย.

พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วมีชื่อว่าสัปปทาสะ


ภายหลังวันหนึ่ง ช่างกัลบกถือมีดโกน 2-3 เล่ม ไปวิหาร
วางมีดโกนเล่มหนึ่งไว้ที่พื้น เอาเล่มหนึ่งปลงผมของภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
กระสันนั้น จับมีดโกนเล่มที่เขาวางไว้ที่พื้นแล้ว คิดว่า "จักตัดคอด้วย
มีดโกนนี้ตาย" จึงยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งแล้ว จ่อคมมีดโกนที่
ก้านคอ ใคร่ครวญถึงศีลของตน จำเดิมแต่กาลอุปสมบท ได้เห็นศีล
หมดมลทิน ดังดวงจันทร์ปราศจากมลทิน และดังดวงแก้วมณีที่ขัดดี. เมื่อ
เธอตรวจดูศีลนั้นอยู่, ปีติเกิดแผ่ซ่านทั่วทั้งสรีระ. เธอข่มปีติได้แล้ว
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย จึงถือ