เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปญฺโญ ความว่า ผู้ไร้ปัญญา
บทว่า ปญฺญวนฺตสฺส ความว่า ผู้เป็นไปกับด้วยปัญญา. คำที่
เหลือเช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ 500 รูป บรรลุพระอรหัต พร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว, พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้
ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระจบ.

11. เรื่องพระสัปปทาสเถระ [91]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสัปปทาส-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสตํ ชีเว" เป็นต้น.

พระเถระให้งูกัดตัว


ดังได้สดับมา กุลบุตรผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว โดยสมัยอื่นอีก กระสันขึ้น
จึงคิดว่า "ชื่อว่าภาวะแห่งคฤหัสถ์ ไม่ควรแก่กุลบุตรเช่นเรา. แม้การ
ดำรงอยู่ในบรรพชาแล้วตายไป เป็นความดีของเรา" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยว
คำนึงหาอุบายเพื่อมรณะของตนอยู่.
ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำแต่เช้าตรู่ ทำภัตกิจเสร็จแล้ว
ไปสู่วิหาร เห็นงูที่โรงไฟ จึงใส่งูนั้นไว้ในหม้อใบหนึ่งปิดหม้อแล้วถือ
ออกจากวิหาร. ฝ่ายภิกษุผู้กระสัน ทำภัตกิจแล้วเดินมาเห็นภิกษุเหล่านั้น
จึงถามว่า "นี่อะไร ? ผู้มีอายุ" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "งู ผู้มีอายุ"
จึงถามว่า "จักทำอะไรด้วยงูนี้ ?" ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นว่า "เราจัก
ทิ้งมัน" คิดว่า "เราจักให้งูนี้กัดตัวตายเสีย" จึงกล่าวว่า "นำมาเถิด,
กระผมจักทิ้งมันเอง" รับหม้อจากมือของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิ่งอยู่ในที่
แห่งหนึ่งแล้ว ก็ให้งูนั้นกัดตน. งูไม่ปรารถนาจะกัด. ภิกษุนั้นเอามือ