เมนู

แม้เพียงส่วนที่ 4 แห่งกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแก่คนทั้งหลาย ผู้ไหว้สาวก
ของเราด้วยจิตที่เลื่อมใส" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
7. ยงฺกิญฺจิ ยิฏฺฐํ ว หุตํ ว โลเก
สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข
สพฺพํปิ ตํ น จตุภาคเมติ
อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย.
"ผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญ และทำบำบวงอย่างใด
อย่างหนึ่งในโลกตลอดปี, ทานนั้นแม้ทั้งหมดไม่ถึง
ส่วนที่ 4, การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงประเสริฐ
สุด."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ นี้ เป็นคำรวบถือไม่มีส่วน
เหลือ. บทว่า ยิฏฺฐํ ได้แก่ ทานที่เขาให้ด้วยอำนาจการทำมงคลเป็นต้น
โดยมาก. บทว่า หุตํ ได้แก่ ทานเพื่อแขกที่เขาจัดแจงทำ และทานที่
เขาเธอกรรมและผลของกรรมทำ.
สองบทว่า สํวจฺฉรํ ยเชถ ความว่า พึงให้ทานมีประการ
ดังกล่าวแล้วแก่โลกิยมหาชนแม้ในจักรวาลทั้งสิ้น ตลอดปีหนึ่งไม่มีระหว่าง
เลย. บทว่า ปุญฺญเปกฺโข ได้แก่ ผู้ปรารถนาบุญ. บทว่า อุชุคเตสุ
ความว่า ในพระโสดาบันโดยที่สุดอย่างต่ำ ในพระขีณาสพโดยที่สุดอย่างสูง.

คำนี้ เป็นคำที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า "ทานนั้นทั้งหมด ไม่ถึงแม้
ส่วนที่ 4 จากผลแห่งกุศลเจตนา ของผู้น้อมสรีระไหว้ ด้วยจิตที่เลื่อมใส
เห็นปานนั้น; เพราะฉะนั้น การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงเท่านั้น
ประเสริฐสุด.
ในเวลาจบเทศนา พราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. ชนแม้เหล่า
อื่นเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ จบ.

8. เรื่องอายุวัฒนกุมาร [88]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยทีฆลัมพิกนคร ประทับอยู่ ณ กุฎีในป่า1
ทรงปรารภกุมารผู้อายุยืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิวาทนสีลิสฺส"
เป็นต้น.

พราหมณ์ 2 สหายออกบวช


ได้ยินว่า พราหมณ์ 2 คนชาวทีฆลัมพิกนคร บวชในลัทธิภาย
นอก บำเพ็ญตบะสิ้นกาล 48 ปี. บรรดาพราหมณ์ 2 คนนั้น คนหนึ่ง
คิดว่า "ประเพณีของเราจักเสื่อมเสีย, เราจักสึก " ดังนี้แล้ว จึงขาย
บริขารตบะที่ตนทำไว้แก่คนเหล่าอื่น ได้ภรรยาพร้อมด้วยโค 100 ตัว
และทรัพย์ 100 กหาปณะ ให้ตั้งไว้เป็นกองทุน. ครั้งนั้น ภรรยาของ
เขาคลอดเด็ก.
ส่วนสหายของเขานอกจากนี้ไปสู่ต่างถิ่นแล้ว ก็กลับมาสู่นครนั้นอีก
นั่นแล. เขาได้ยินความที่สหายนั้นมา จึงได้พาบุตรและภรรยาไปเพื่อ
ต้องการเยี่ยมสหาย, ครั้นถึงแล้วให้บุตรในมือของมารดาแล้วก็ไหว้เอง
ก่อน. แม้มารดาให้บุตรในมือของบิดาแล้วก็ไหว้. สหายนั้นกล่าวว่า
" ขอท่านจงเป็นผู้มีอายุยืน" แต่เมื่อมารดาบิดาให้บุตรไหว้แล้ว สหาย
นั้นได้นิ่งเสีย.
1. กุฏิกศัพท์ แปลว่า กระท่อม ก็มี คำว่า อรญฺญกุฏิกายํ คงเป็นกระท่อมที่เขาสร้าง
ไว้ในป่า ไม่ใช่สถานที่ประทับยืน เป็นที่ประทับชั่วคราว.