เมนู

ผู้นั้น หาชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่,
ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียวได้, ผู้นั้นแล เป็นยอดแห่ง
ผู้ชนะ ในสงคราม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คาถาสตํ ความว่า ก็บุคคลใด
พึงกล่าวคาถากำหนดด้วยร้อย คือเป็นอันมาก. บาทพระคาถาว่า
อนตฺถปทสญฺหิตา ความว่า ประกอบด้วยบททั้งหลายอันไม่มีประโยชน์
ด้วยอำนาจพรรณนาอากาศเป็นต้น.
บทที่ปฏิสังยุตด้วยธรรมมีขันธ์เป็นต้น สำเร็จประโยชน์ ชื่อว่า
บทธรรม. บรรดาธรรม 4 ที่พระศาสดาตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ปริพาชก
ทั้งหลาย บทธรรม 4 เหล่านี้; 4 คืออะไรบ้าง ? ปริพาชกทั้งหลาย
บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง, บทธรรมคือความไม่ปองร้าย, บทธรรม
คือความระลึกชอบ, บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ บทธรรมแม้บท
เดียวประเสริฐกว่า."
บาทพระคาถาว่า โย สหสฺสํ สหสฺเสน ความว่า ผู้ใดคือ
นักรบในสงคราม พึงชนะมนุษย์พันหนึ่งซึ่งคูณด้วยพัน ในสงคราม
ครั้งหนึ่ง ได้แก่ชนะมนุษย์ 10 แสนแล้ว พึงนำชัยมา, แม้ผู้นี้ ก็หา
ชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนทั้งหลายผู้ชนะในสงครามไม่.
บาทพระคาถาว่า เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ความว่า ส่วนผู้ใด
พิจารณากัมมัฏฐานอันเป็นไปในภายใน ในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน
พึงชนะตน ด้วยการชนะกิเลสมีโลภะเป็นต้น ของตนได้.

บาทพระคาถาว่า ส เว สงฺคามชุตฺตโม ความว่า ผู้นั้นชื่อว่า
เป็นยอด คือประเสริฐ แห่งชนทั้งหลายผู้ชนะในสงคราม ได้แก่ เป็น
นักรบเยี่ยมในสงคราม.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี จบ.

4. เรื่องอนันถปุจฉกพราหมณ์ [84]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอนัตถปุจฉก-
พราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตา หเว" เป็นต้น.

ความฉิบหายย่อมมีแก่ผู้เสพกรรม 6 อย่าง


ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ
สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างเดียวหรือหนอแล ? หรือทรงทราบแม้สิ่งมิใช่
ประโยชน์; เราจักทูลถามพระองค์" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พระองค์เห็นจะทรงทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์
อย่างเดียว. ไม่ทรงทราบสิ่งที่มิใช่ประโยชน์."
พระศาสดา. พราหมณ์ เราะรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งสิ่งที่มิใช่
ประโยชน์.
พราหมณ์. ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
แก่ข้าพระองค์เถิด.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถานี้ แก่พราหมณ์นั้นว่า
"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ
เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง1 การ
เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ

1. ทีฆโสตฺติยํ หมายความว่า การผัดเพี้ยนกาลเวลา, การผันวันประกันพรุ่ง