เมนู

ชนะกิเลสประเสริฐ


ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า "การฟังธรรมของ
นางกุณฑลเกสีเถรีไม่มีมาก, กิจแห่งบรรพชิตของนางถึงที่สุดแล้ว, ได้
ยินว่า นางทำมหาสงครามกับโจรคนหนึ่งชนะแล้วมา."
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายนั้น กราบทูล
ว่า "ถ้อยคำชื่อนี้." จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่านับธรรม
ที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' บทที่ไม่เป็นประโยชน์แม้ 100 บท
ไม่ประเสริฐ, ส่วนบทแห่งธรรมแม้บทเดียวประเสริฐกว่าเทียว; อนึ่ง
เมื่อบุคคลชนะโจรที่เหลือ หาชื่อว่าชนะไม่, ส่วนบุคคลชนะโจรคือกิเลส
อันเป็นไปภายในนั่นแหละ จึงชื่อว่าชนะ" เมื่อจะทรงสืบอันสนุธิแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
3. โย จ คาถาสตํ ภาเส อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.
โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม.
"ก็ผู้ใด พึงกล่าวคาถาตั้งร้อย ซึ่งไม่ประกอบ
ด้วยบพเป็นประโยชน์; บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคล
ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า ( การกล่าว
คาถาตั้ง 100 ของผู้นั้น). ผู้ใด พึงชนะมนุษย์
พันหนึ่งคูณด้วยพันหนึ่ง (คือ 1 ล้าน) ในสงคราม

ผู้นั้น หาชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่,
ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียวได้, ผู้นั้นแล เป็นยอดแห่ง
ผู้ชนะ ในสงคราม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คาถาสตํ ความว่า ก็บุคคลใด
พึงกล่าวคาถากำหนดด้วยร้อย คือเป็นอันมาก. บาทพระคาถาว่า
อนตฺถปทสญฺหิตา ความว่า ประกอบด้วยบททั้งหลายอันไม่มีประโยชน์
ด้วยอำนาจพรรณนาอากาศเป็นต้น.
บทที่ปฏิสังยุตด้วยธรรมมีขันธ์เป็นต้น สำเร็จประโยชน์ ชื่อว่า
บทธรรม. บรรดาธรรม 4 ที่พระศาสดาตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ปริพาชก
ทั้งหลาย บทธรรม 4 เหล่านี้; 4 คืออะไรบ้าง ? ปริพาชกทั้งหลาย
บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง, บทธรรมคือความไม่ปองร้าย, บทธรรม
คือความระลึกชอบ, บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ บทธรรมแม้บท
เดียวประเสริฐกว่า."
บาทพระคาถาว่า โย สหสฺสํ สหสฺเสน ความว่า ผู้ใดคือ
นักรบในสงคราม พึงชนะมนุษย์พันหนึ่งซึ่งคูณด้วยพัน ในสงคราม
ครั้งหนึ่ง ได้แก่ชนะมนุษย์ 10 แสนแล้ว พึงนำชัยมา, แม้ผู้นี้ ก็หา
ชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนทั้งหลายผู้ชนะในสงครามไม่.
บาทพระคาถาว่า เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ความว่า ส่วนผู้ใด
พิจารณากัมมัฏฐานอันเป็นไปในภายใน ในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน
พึงชนะตน ด้วยการชนะกิเลสมีโลภะเป็นต้น ของตนได้.