เมนู

1. สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.
"หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็น
ประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ซึ่ง
บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสมปิ เป็นคำสำหรับกำหนด.
อธิบายว่า "แม้หากว่าวาจาเขากำหนดด้วยพันอย่างนี้ คือ 1 พัน 2 พัน
ไซร้, ก็วาจาเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบ
ด้วยบททั้งหลายที่ไม่เป็นประโยชน์ อันประการแต่เรื่องพรรณนาอากาศ
พรรณนาภูเขา และพรรณนาป่าเป็นต้น ไม่แสดงนิพพาน มีมากเพียงใด;
ก็เป็นวาจาชั่วนั่นแหละ เพียงนั้น."
สองบทว่า เอกํ อตฺถปทํ ความว่า ส่วนบุคคลฟังบทใด ที่
เป็นประโยชน์แม้บทเดียวเห็นปานนี้ว่า "นี้กาย, นี้สติไปในกาย, วิชชา 3
เราตามบรรลุแล้ว, คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย เรากระทำแล้ว."
ย่อมสงบระงับ ด้วยการสงบระงับกิเลส มีราคะเป็นต้นได้, บทนั้น
สำเร็จประโยชน์ ประกอบด้วยนิพพาน คือแสดงขันธ์ ธาตุ อายตนะ
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน แม้บทเดียว ยังประเสริฐกว่า
โดยแท้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง จบ.