เมนู

นาน. มนุษย์เป็นอันมากถูกข้าพเจ้าฆ่าตาย, ข้าพเจ้ามัวระลึกถึงกรรม
ของตนนั้นอยู่ จึงไม่อาจทำจิตให้ไปตามเทศนา ของพระผู้เป็นเจ้าได้."
พระเถระคิดว่า "เราจักลวงบุรุษนั้น" จึงพูดว่า "ก็ท่านได้
กระทำตามชอบใจตน, หรือถูกคนอื่นให้กระทำเล่า ?"
ตัมพทาฐิกะ. ท่านผู้เจริญ พระราชาให้ข้าพเจ้าทำ."
พระเถระ. " อุบาสก เมื่อเป็นเช่นนั้น อกุศลจะมีแก่ท่านอย่างไร
หนอ ?"

นายตัมพทาฐิกะตายไปเกิดในดุสิตบุรี


อุบาสกเป็นคนธาตุทึบ ถูกพระเถระกล่าวอย่างนั้น มีความสำคัญว่า
"อกุศลไม่มีแก่เรา" จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอท่าน
จงกล่าวธรรมเถิด." อุบาสกนั้น เมื่อพระเถระทำอนุโมทนาอยู่ล มีจิต
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ ยังขันติเป็นไปโดยอนุโลม ( แก่อริยสัจ )
ภายในแห่งโสดาปัตติมรรค ให้บังเกิดแล้ว . แม้พระเถระ กระทำ
อนุโมทนาแล้วก็หลีกไป.
นางยักษิณีตนหนึ่งมาแล้วด้วยเพศแห่งแม่โคนม ขวิดที่อกอุบาสก
ผู้ตามส่งพระเถระหน่อยหนึ่งแล้วกลับอยู่ให้ตายแล้ว. อุบาสกนั้นกระทำ
กาละแล้วก็บังเกิดในดุสิตบุรี.

กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดในดุสิต


ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "บุรุษฆ่าโจร กระทำ
กรรมหยาบช้าสิ้น 55 ปี พ้นจากกรรมนั้นในวันนี้แล ถวายภิกษาแก่

พระเถระก็ในวันนี้เหมือนกัน กระทำกาละก็ในวันนี้นั่นแล, เขาบังเกิด
ในที่ไหนหนอแล ?"
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ
ทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้น
บังเกิดในดุสิตบุรี." ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พระองค์
ตรัสอะไร ? บุรุษนั้นฆ่ามนุษย์เท่านี้สิ้นเวลาเท่านี้ แล้วบังเกิดในวิมาน
ดุสิต."
พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, บุรุษนั้นได้
กัลยาณมิตรผู้ใหญ่, เขาฟังธรรมเทศนาของสารีบุตร ยังอนุโลมญาณให้
บังเกิดแล้ว เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว บังเกิดในวิมานดุสิต" ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" บุรุษผู้ฆ่าโจรในเมือง ฟังคำเป็นสุภาษิตแล้ว
ได้อนุโลมขันติ ไปสู่เทวโลกชั้นไตรทิพย์ ย่อม
บันเทิงใจ."

ภิกษุ. " พระเจ้าข้า ธรรมดาอนุโมทนากถามีกำลัง, บุรุษนั้น
กระทำอกุศลกรรมไว้มาก, เขายังคุณวิเศษให้บังเกิดด้วยเหตุเท่านั้นอย่างไร
ได้ ?"
พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าถือประมาณ
แห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' เพราะว่า แม้วาจาคำเดียว
ที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

1. สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.
"หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็น
ประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ซึ่ง
บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสมปิ เป็นคำสำหรับกำหนด.
อธิบายว่า "แม้หากว่าวาจาเขากำหนดด้วยพันอย่างนี้ คือ 1 พัน 2 พัน
ไซร้, ก็วาจาเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบ
ด้วยบททั้งหลายที่ไม่เป็นประโยชน์ อันประการแต่เรื่องพรรณนาอากาศ
พรรณนาภูเขา และพรรณนาป่าเป็นต้น ไม่แสดงนิพพาน มีมากเพียงใด;
ก็เป็นวาจาชั่วนั่นแหละ เพียงนั้น."
สองบทว่า เอกํ อตฺถปทํ ความว่า ส่วนบุคคลฟังบทใด ที่
เป็นประโยชน์แม้บทเดียวเห็นปานนี้ว่า "นี้กาย, นี้สติไปในกาย, วิชชา 3
เราตามบรรลุแล้ว, คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย เรากระทำแล้ว."
ย่อมสงบระงับ ด้วยการสงบระงับกิเลส มีราคะเป็นต้นได้, บทนั้น
สำเร็จประโยชน์ ประกอบด้วยนิพพาน คือแสดงขันธ์ ธาตุ อายตนะ
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน แม้บทเดียว ยังประเสริฐกว่า
โดยแท้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง จบ.