เมนู

10. เรื่องหญิงคนใดคนหนึ่ง [70]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงคนใด
คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "รมณียานิ" เป็นต้น.

หญิงนครโสภิณียั่วจิตพระเถระให้หลง


ดังได้สดับมา ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐาน
ในสำนักของพระศาสดาแล้ว เข้าไปสู่สวนร้างสวนหนึ่งทำสมณธรรมอยู่.
ครั้งนั้นหญิงนครโสภิณีคนหนึ่ง ทำการนัดแนะกับบุรุษว่า "ฉันจักไปสู่
ที่ชื่อโน้น, เธอพึงมาในที่นั้น" ได้ไปแล้ว. บุรุษนั้นไม่มาแล้ว. นาง
แลดูทางมาของบุรุษนั้นอยู่ไม่เห็นเขา กระสันขึ้นแล้ว จึงเที่ยวไปข้างโน้น
ข้างนี้ เข้าไปสู่สวนนั้นพบพระเถระนั่งคู้บัลลังก์ แลไปข้างโน้นข้างนี้
ไม่เห็นใคร ๆ อื่น คิดว่า "ผู้นี้เป็นเป็นชายเหมือนกัน, เราจักยังจิตของ
ผู้นี้ให้ลุ่มหลง" ยืนอยู่ข้างหน้าของพระเถระนั้น เปลื้องผ้านุ่งแล้ว
(กลับ) นุ่งบ่อย ๆ, สยายผมแล้วเกล้า, ปรบมือแล้วหัวเราะ.
ความสังเวชเกิดขึ้นแก่พระเถระ แผ่ซ่านไปทั่วสรีระ. ท่านคิด
ว่า "นี้เป็นอย่างไรหนอแล ?"

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระเถระ


ฝ่ายพระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า " ความเป็นไปของภิกษุผู้เรียน
กัมมัฏฐานจากสำนักของเราไปแล้วด้วยตั้งใจว่า 'จักทำสมณธรรม'

เป็นอย่างไรหนอแล ?" ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงทราบกิริยาอนาจาร
ของหญิงนั้น และความเกิดขึ้นแห่งอวามสังเวชของพระเถระ ประทับนั่ง
ในพระคันธกุฎนั่นแหละ ตรัสกับพระเถระนั้นว่า "ภิกษุ ที่ ๆ ไม่
รื่นรมย์ของพวกคนผู้แสวงหากามนั่นแหละ เป็นที่รื่นรมย์ของผู้มีราคะ
ปราศจากแล้วทั้งหลาย." ก็แลครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงแผ่พระโอภาส
ไป เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
10. รมณียานี อรญฺญนิ ยตฺถ น รมตี ชโน
วีตราคา รเมสฺสนฺติ น เต กามคเวสิโน.
"ป่าทั้งหลาย เป็นที่น่ารื่นรมย์, ท่านผู้มีราคะ
ไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่
ยินดีของชน, ( เพราะ ) ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้ว
นั้น เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากาม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญานิ ความว่า ธรรมดาป่าทั้งหลาย
อันประดับด้วยไพรสณฑ์มีต้นไม้รุ่น ๆ มีดอกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วย
น้ำใสสะอาด เป็นที่น่ารื่นรมย์. บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า ชน
ผู้แสวงหากาม ย่อมไม่ยินดีในป่าทั้งหลายใด เหมือนแมลงวันบ้าน
ไม่ยินดีในป่าบัวหลวง ซึ่งมีดอกอันแย้มแล้วฉะนั้น.
บทว่า วีตราคา เป็นต้น ความว่า ก็ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้ว
ทั้งหลาย คือพระขีณาสพ จักยินดีในป่าทั้งหลายเห็นปานนั้น เหมือน
แมลงภู่และแมลงผึ้ง ยินดีในป่าบัวหลวงฉะนั้น.