เมนู

แก้อรรถ


ในพระคาถานั้น มีความว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมไม่ได้กาย-
วิเวกภายในบ้านก็จริง, ถึงดังนั้น ย่อมได้จิตตวิเวกอย่างแน่นอน, เพราะ
อารมณ์ทั้งหลายแม้เปรียบดังของทิพย์ ย่อมไม่อาจทำจิตของพระอรหันต์
เหล่านั้นให้หวั่นไหวได้, เพราะเหตุนั้น จะเป็นบ้านหรือจะเป็นที่ใดที่หนึ่ง
มีป่าเป็นต้น, พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใด. บาทพระคาถาว่า
ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ ความว่า ภูมิประเทศนั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์แท้.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พวกภิกษุปรารภถึงความเป็นไปของพระสีวลี


โดยสมัยอื่นอีก ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย
เพราะเหตุไรหนอแล ท่านพระสีวลีเถระ จึงอยู่ในท้องของมารดา
ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ? เพราะกรรมอะไร จึงไหม้แล้วในนรก ?
เพราะกรรมอะไร จึงถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ และมียศเลิศอย่างนั้น ?"
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอกล่าวอะไรกัน ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้
พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบุรพกรรมของท่านพระสีวลีเถระนั้น
จึงตรัสว่า :-

บุรพกรรมของพระสีวลี


"ภิกษุทั้งหลาย ในกัลป์ที่ 91 แต่กัลป์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่าวิปัสสี ทรงอุบัติในโลกแล้ว สมัยหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปใน

ชนบท กลับมาสู่นครของพระบิดา. พระราชาทรงตระเตรียมอาคันตุกทาน
เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงส่งข่าวแก่ชาวเมืองว่า
"ชนทั้งหลายจงมาเป็นสหายในทานของเรา." ชนเหล่านั้นทำอย่างนั้น
แล้วคิดว่า "พวกเราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานที่พระราชาถวายแล้ว "
จึงทูลนิมนต์พระศาสดา ในวันรุ่งขึ้นตกแต่งทานแล้ว ก็ส่งข่าวไปทูลแด่
พระราชา. พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรเห็นทานของชนเหล่านั้นแล้ว
ทรงดำริว่า "เราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานนี้" ในวันรุ่งขึ้นทรงนิมนต์
พระศาสดาแล้ว. พระราชาไม่ทรงสามารถจะให้ชาวเมืองแพ้ได้เลย (ถึง)
ชาวเมืองก็ไม่สามารถจะให้พระราชาแพ้ได้. ในครั้งที่ 6 ชาวเมืองคิดว่า
"บัดนี้พวกเราจักถวายทานในวันพรุ่งนี้ โดยประการที่ใคร ๆ ไม่อาจพูด
ได้ว่า "วัตถุชื่อนี้ไม่มี ในทานของชนเหล่านี้" ดังนี้แล้ว ในวัน
รุ่งขึ้นจัดแจงของถวายเสร็จแล้วตรวจดูว่า "อะไรหนอแล ? ยังไม่มีใน
ทานนี้" ไม่ได้เห็นน้ำผึ้งดิบ1เลย, ส่วนน้ำผึ้งสุกมีมาก. ชนเหล่านั้นให้
คนถือเอาทรัพย์ 4 พันแล้ว ส่งไปในประตูแห่งพระนครทั้ง 4 เพื่อ
ต้องการน้ำผึ้งดิบ.
ครั้งนั้น คนบ้านนอกคนหนึ่งมาเพื่อจะเยี่ยมนายบ้าน เห็นรวงผึ้ง
ในระหว่างทาง ไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้ว ตัดกิ่งไม้ถือรวงผึ้งพร้อมทั้งคอน
นั่นแลเข้าไปสู่พระนครด้วยตั้งใจว่า "เราจักให้แก่นายบ้าน" บุรุษผู้ไป
เพื่อต้องการน้ำผึ้งพบคนบ้านนอกนั้นแล้ว จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ
น้ำผึ้งท่านขายไหม ?"
1. อลฺลมธุ ตามศัพท์แปลว่าน้ำผึ้งสด. ได้แก่น้ำผึ้งที่ได้จากรังใหม่ ๆ ยังไม่ได้ต้มหรือเคี่ยว,
เพื่อความให้ความเข้ากันกับน้ำผึ้งสุก ศัพท์นี้จึงควรแปลว่า น้ำผึ้งดิบ.

คนบ้านนอก. ไม่ขาย นาย.
บุรุษ. เชิญท่านรับเอากหาปณะนี้แล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่ฉัน )
เถิด.
คนบ้านนอกนั้นคิดว่า "รวงผึ้งนี้ย่อมไม่ถึงค่าแม้สักว่าบาทหนึ่ง;
แต่บุรุษนี้ให้ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง, เห็นจะเป็นผู้มีกหาปณะมาก, เราควร
ขึ้นราคา." ลำดับนั้น เขาจึงตอบกะบุรุษนั้นว่า "ฉันให้ไม่ได้."
บุรุษ. ถ้ากระนั้น ท่านจงรับเอาทรัพย์ 2 กหาปณะ.
คนบ้านนอก. แม้ด้วยทรัพย์ 2 กหาปณะฉันก็ให้ไม่ได้.
เขาขึ้นราคาด้วยอาการอย่างนั้น จนถึงบุรุษนั้นกล่าวว่า "ถ้า
กระนั้น ขอท่านจงรับเอาทรัพย์พันกหาปณะนี้" ดังนี้แล้ว น้อมห่อ
ภัณฑะเข้าไป. ทีนั้นคนบ้านนอกกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "ท่านบ้าหรือหนอ
แล ? หรือไม่ได้โอกาสเป็นที่เก็บกหาปณะ; น้ำผึ้งไม่ถึงค่าแม้บาทหนึ่ง
ท่านยังกล่าวว่า 'ท่านรับเอากหาปณะพันหนึ่งแล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่
ฉัน), ชื่อว่าเหตุอะไรกันนี้ ?"
บุรุษ. ผู้เจริญ ข้าพเจ้ารู้, ก็กรรมของข้าพเจ้าด้วยน้ำผึ้งนี้มีอยู่,
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงพูดอย่างนั้น.
คนบ้านนอก. กรรมอะไร ? นาย.
บุรุษ. พวกข้าพเจ้าตระเตรียมมหาทาน เพื่อพระวิปัสสีสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้มีสมณะ 6 ล้าน 8 แสนเป็นบริวาร, ในมหาทานนั้นยัง
ไม่มีน้ำผึ้งดิบอย่างเดียวเท่านั้น, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอซื้อ (รวงผึ้ง)
ด้วยอาการอย่างนั้น.
คนบ้านนอก. เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ให้ด้วยราคา, ถ้า

แม้ข้าพเจ้าได้ส่วนบุญในทานบ้างไซร้, ข้าพเจ้าจักให้.
บุรุษนั้นไปบอกเนื้อความนั้นแก่ชาวเมือง. ชาวเมืองทราบความที่
ศรัทธาของเขามีกำลัง จึงรับว่า "สาธุ ขอเขาจงเป็นผู้ได้ส่วนบุญ.
พวกชาวเมืองนั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้นั่งแล้ว
ถวายข้าวต้มและของเคี้ยว ให้คนนำถาดทองคำอย่างใหญ่มาให้บีบรวงผึ้ง
แล้ว. แม้กระบอกนมส้มอันมนุษย์นั้นแลนำมา เพื่อต้องการเป็นของ
กำนัลมีอยู่. เขาเทนมส้มแม้นั้นลงในถาดแล้วเคล้ากับน้ำผึ้งนั้น ได้ถวาย
แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขจำเดิมแต่ต้น. น้ำผึ้งนั้นทั่วถึงแก่
ภิกษุทุกรูป ผู้รับเอาจนพอความต้องการ. ได้เหลือเกินไปด้วยซ้ำ.
ใคร ๆ ไม่ควรคิดว่า "น้ำผึ้งน้อยอย่างนั้น ถึงแก่ภิกษุมากเพียงนั้นได้
อย่างไร ?" จริงอยู่ น้ำผึ้งนั้น ถึงได้ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า.
พุทธวิสัยใคร ๆไม่ควรคิด. จริงอยู่ เหตุ1 4 อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า " เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด." ใคร ๆ เมื่อไปคิดเหตุเหล่านั้นเข้า
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคนบ้าทีเดียว ด้วยประการฉะนี้.
บุรุษนั้น ทำกรรมประมาณเท่านั้นแล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่ง
อายุ บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนานประมาณเท่านั้น ใน
สมัยหนึ่งจุติจากเทวโลก บังเกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี โดยกาล
ที่พระชนกสวรรคต ถึงความเป็นพระราชาแล้ว. ท้าวเธอทรงดำริว่า
"จักยึดเอาพระนครหนึ่ง" จึงเสด็จไปล้อม (นครนั้นไว้). และทรง
ส่งสาสน์ไปแก่ชาวเมืองว่า "จงให้ราชสมบัติหรือให้การยุทธ" ชาวเมือง
เหล่านั้นตอบว่า "จักไม่ให้ทั้งราชสมบัตินั่นแหละ, จักไม่ให้ทั้งการยุทธ"
1. อนิจไตย เรื่องที่ไม่ควรคิด 4 อย่าง คือ พุทธวิสัย. ฌานวิสัย. กรรมวิสัย. โลกจินตะ.

ดังนี้แล้ว ก็ออกไปนำฟืนและน้ำเป็นต้นมาทางประตูเล็ก ๆ, ทำกิจ
ทุกอย่าง.
ฝ่ายพระราชานอกนี้รักษาประตูใหญ่ 4 ประตู ล้อมพระนครไว้
สิ้น 7 ปี ยิ่งด้วย 7 เดือน 7 วัน. ในกาลต่อมา พระชนนีของพระราชา
นั้นตรัสถามว่า บุตรของเราทำอะไร ?" ทรงสดับเรื่องนั้นว่า "ทรง
ทำกรรมชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "บุตรของเราโง่, พวกเธอจงไป
จงทูลแก่บุตรของเรานั้นว่า "จงปิดประตูเล็ก ๆ ล้อมพระนคร."
ท้าวเธอทรงสดับคำสอนของพระชนนีแล้ว ก็ได้ทรงทำอย่างนั้น.
ฝ่ายชาวเมืองเมื่อไม่ได้เพื่อออกไปภายนอก ในวันที่ 7 จึงปลง
พระชนม์พระราชาของตนเสีย ได้ถวายราชสมบัติแด่พระราชานั้น. ท้าว
เธอทรงทำกรรมนี้แล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งอายุบังเกิดในอเวจี, ไหม้
แล้วในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง, จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ อยู่ภายในท้อง
สิ้น 7 ปี ยิ่งด้วย 7 เดือน นอนขวางอยู่ที่ปากช่องกำเนิดสิ้น 7 วัน เพราะ
ความที่ตนปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่.
ภิกษุทั้งหลาย สีวลีไหม้แล้วในนรกสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะ
กรรมที่เธอล้อมพระนครแล้วยึดเอาในกาลนั้น ถือปฏิสนธิในท้องของ
มารดานั้นนั่นแหละ อยู่ในท้องสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะความที่เธอ
ปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่, เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ มียศเลิศ เพราะ
ความที่เธอถวายน้ำผึ้งใหม่ ด้วยประการอย่างนี้.

พวกภิกษุชมเชยบุญของเรวตะ


ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "แม้สามเณรผู้เดียวทำ