เมนู

4. ปุปผวรรควรรณนา


1. เรื่องภิกษุ 500 รูปผู้ขวนขวายในปฐวีกถา [33]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ
500 รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โก
อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ"
เป็นต้น.

ควรปรารภแผ่นดินภายใน


ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปในชนบทกับพระผู้มี-
พระภาคเจ้า มาถึงพระเชตวันแล้วนั่งในหอฉันในเวลาเย็น เล่าถึงเรื่อง
แผ่นดินในสถานที่ตนไปแล้ว ๆ ว่า "ในสถานเป็นที่ไปสู่บ้านโน้น จาก
บ้านโน้น เสมอ ไม่เสมอ มีเปือกตมมาก มีกรวดมาก มีดินดำ มีดิน
แดง."
พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วย เรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
" ด้วยเรื่องแผ่นดินในสถานที่พวกข้าพระองค์เที่ยวไปแล้ว พระเจ้าข้า"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นั่นชื่อว่าแผ่นดินภายนอก, การ
ที่พวกเธอทำบริกรรมในแผ่นดินภายในจึงจะควร" ดังนี้ แล้วได้ทรง
ภาษิต 2 พระคาถามนี้ว่า :-

1. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.
เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.
"ใคร จักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้ และยมโลกกับ
มนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก, ใคร จักเลือก
บทธรรม อันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการ
ผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น. พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดิน
และยมโลกกับมนุสสโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก. พระ-
เสขะจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือน
นายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โก อิมํ ความว่า ใคร (จักรู้
ชัด) ซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.
บทว่า วิเชสฺสติ ความว่า จักรู้แจ้ง คือแทงตลอด ได้แก่ ทำให้
แจ้ง ด้วยญาณของตน.
บทว่า ยมโลกญฺจ ได้แก่ อบายโลก 4 อย่างด้วย.
สองบทว่า อิมํ สเทวกํ ความว่า ใคร จักรู้ชัด คือจักทราบชัด
ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งมนุสสโลกนี้กับเทวโลกด้วย พระศาสดา
ย่อมตรัสถามดังนี้.
บาทพระคาถาว่า โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ ความว่า ใคร จัก
เลือก คือคัด ได้แก่พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง ซึ่งบทธรรม