เมนู

8. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [78]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสฺสทฺโธ" เป็นต้น.

สัทธินทรีย์เป็นต้นมีอมตะเป็นที่สุด


ความพิสดารว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ประมาณ 30 รูป วัน
หนึ่งไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมนั่งแล้ว. พระศาสดาทรงทราบ
อุปนิสัยแห่งพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ของภิกษุเหล่านั้น
แล้ว ตรัสเรียกพระสารีบุตรเถระมา ตรัสถามปัญหาปรารภอินทรีย์ 5
อย่างนั้นว่า "สารีบุตร เธอเชื่อหรือ ?, อินทรีย์คือศรัทธาอันบุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งถึงอมตะ มีอมตะเป็นที่สุด." พระเถระ
ทูลแก้ปัญหานั้นอย่างนั้นว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมไม่ถึงด้วยความ
เชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในอินทรีย์ 5 นี้แล; (ว่า) อินทรีย์ คือ
ศรัทธา ฯลฯ มีอมตะเป็นที่สุด, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อินทรีย์ คือ
ศรัทธานั่น อันชนเหล่าใดไม่รู้แล้ว ไม่สดับแล้ว ไม่เห็นแล้ว ไม่ทราบ
แล้ว ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา, ชนเหล่านั้นพึงถึง
ด้วยความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอินทรีย์ 5 นั้น (ว่า) อินทรีย์ คือ
ศรัทธา ฯลฯ มีอมตะเป็นที่สุด."
ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว ยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า "พระสารีบุตรเถระ
แก้แล้ว ด้วยการถือผิดทีเดียว, แม้ในวันนี้ พระเถระไม่เชื่อแล้วต่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเทียว."

พระสารีบุตรอันใคร ๆ ไม่ควรติเตียน


พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
กล่าวคำชื่ออะไรนั่น ? เราแล ถามว่า 'สารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า
ชื่อว่าบุคคลผู้ไม่อบรมอินทรีย์ 5 ไม่เจริญสมถะและวิปัสสนา สามารถ
เพื่อทำมรรคและผลให้แจ้งมีอยู่" สารีบุตรนั้น กล่าวว่า " พระเจ้าข้า
ข้าพระองค์ไม่เชื่อว่า 'ผู้กระทำให้แจ้งอย่างนั้น ชื่อว่ามีอยู่' สารีบุตร
ไม่เชื่อผลวิบาก แห่งทานอันบุคคลถวายแล้ว หรือแห่งกรรมอันบุคคล
กระทำแล้วก็หาไม่; อนึ่ง สารีบุตร ไม่เชื่อคุณของพระรัตนะ 3 มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นก็หาไม่; แต่สารีบุตรนั้น ไม่ถึงความเชื่อต่อบุคคลอื่นใน
ธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล อันตนได้เฉพาะแล้ว;
เพราะฉะนั้น สารีบุตรจึงเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, เมื่อจะทรงสืบ
อนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. อสฺสทฺโธ อกตญญู จ สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส ส เว อุตฺตมโปริโส.
"นระใดไม่เชื่อง่าย มีปกติรู้พระนิพพาน อัน
ปัจจัยทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันกำจัดแล้ว
มีความหวังอันคายแล้ว นระนั้นแล เป็นบุรุษ
สูงสุด."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น พึงทราบวิเคราะห์
ดังนี้ :-