เมนู

พระอุปัชฌาย์เทียว ยังราตรีให้น้อมล่วงไปแล้ว. พระเถระลุกขึ้นในเวลา
ใกล้รุ่ง คิดว่า "ควรให้สามเณรออก" จึงจับพัดที่วางอยู่ข้างเตียง เอา
ปลายใบพัดตีเสื่อลำแพนของสามเณรแล้ว ยกพัดขึ้นเบื้องบนกล่าวว่า
"สามเณรจงออกไปข้างนอก" ใบพัดกระทบตา. ตาแตกแล้ว ทันใด
นั้นนั่นเอง สามเณรนั้น กล่าวว่า " อะไร ? ขอรับ" เมื่อพระเถระ
กล่าวว่า "เจ้าจงลุกขึ้น ออกไปข้างนอก." ก็ไม่กล่าวว่า " ตาของผม
แตกแล้ว ขอรับ" ปิด (ตา) ด้วยมือข้างหนึ่งออกไปแล้ว. ก็แลใน
เวลาทำวัตร สามเณรไม่นั่งนิ่งด้วยคิดว่า "ตา ของเราแตกแล้ว."
กุมตาด้วยมือข้างหนึ่ง ถือกำไม้กวาดด้วยมือข้างหนึ่ง กวาดเวจกุฎีและที่ล้าง
หน้าและตั้งน้ำล้างหน้าไว้แล้วกวาดบริเวณ. สามเณรนั้นเมื่อถวายไม้ชำระ
ฟันแก่พระอุปัชฌาย์ ได้ถวายด้วยมือเดียว.

อาจารย์ขอโทษศิษย์


ครั้งนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวกะสามเณรนั้นว่า "สามเณรนี้ไม่ได้
สำเหนียกหนอ, จึงได้เพื่อถวายไม้ชำระฟันแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ด้วย
มือเดียว."
สามเณร. ผมทราบ ขอรับ ว่า 'นั่นไม่เป็นวัตร,' แต่มือข้าง
หนึ่งของผม ไม่ว่าง
พระเถระ. อะไร ? สามเณร.
สามเณรนั้นบอกความเป็นไปนั้นแล้วจำเดิมแต่ต้น. พระเถระพอ
ฟังแล้วมีใจสลด กล่าวว่า " โอ กรรมหนักอันเราทำแล้ว" กล่าวว่า
"จงอดโทษแก่ฉัน สัตบุรุษ, ฉันไม่รู้ข้อนั้น, ขอจงเป็นที่พึ่ง" ดังนี้

แล้ว ประคองอัญชลี นั่งกระโหย่งใกล้เท้าของเด็กอายุ 7 ขวบ. ลำดับ
นั้นสามเณรบอกกะพระเถระนั้นว่า "กระผมมิได้พูดเพื่อต้องการเหตุนั้น
ขอรับ, กระผมเมื่อตามรักษาจิตของท่าน จึงได้พูดแล้วอย่างนี้, ในข้อนี้
โทษของท่านไม่มี, โทษของผมก็ไม่มี, นั่นเป็นโทษของวัฏฏะเท่านั้น,
ขอท่านอย่าคิดแล้ว, อันผมรักษาความเดือดร้อนของท่านอยู่นั่นเทียว
จึงไม่บอกแล้ว" พระเถระแม้อันสามเณรให้เบาใจอยู่ ไม่เบาใจแล้ว มี
ความสลดใจเกิดขึ้นแล้ว ถือภัณฑะของสามเณรไปสู่สำนักของพระศาสดา
แล้ว. แม้พระศาสดาประทับนั่งทอดพระเนตรการมาของพระเถระนั้น
เหมือนกัน. พระเถระนั้นไปถวายบังคมพระศาสดา ทำความบันเทิงกับ
พระศาสดาแล้ว อันพระศาสดาตรัสถามว่า " พออดพอทนหรือ ? ภิกษุ,
ความไม่ผาสุกที่รุนแรงอะไร ๆ ไม่มีหรือ?" จึงกราบทูลว่า "พออด
พอทน พระเจ้าข้า. ความไม่ผาสุกที่รุนแรงอะไร ๆ ของข้าพระองค์
ไม่มี. ก็อีกอย่างหนึ่งแล คนอื่นผู้มีคุณอย่างล้นเหลือเหมือนสามเณร
เด็กนี้ อันข้าพระองค์ไม่เคยเห็น" พระศาสดาตรัสถามว่า "กรรมอะไร ?
อันสามเณรนี้ทำแล้ว ภิกษุ." พระเถระนั้นกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมด
ตั้งแต่ต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า สามเณรนี้
อันข้าพระองค์ให้อดโทษอยู่อย่างนั้น กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนั้นว่า 'ในข้อนี้
โทษของท่านไม่มีเลย, โทษของผมก็ไม่มี, นั่นเป็นโทษของวัฏฏะเท่านั้น,
ขอท่านอย่าคิดแล้ว,' สามเณรยังข้าพระองค์ให้เบาใจแล้วนั่นเทียวด้วย
ประการฉะนี้, ไม่ทำความโกรธไม่ทำความประทุษร้าย ในข้าพระองค์
เลย; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณเห็นปานนี้ อันข้าพระองค์
ไม่เคยเห็น."

พระขีณาสพไม่โกรธไม่ประทุษร้ายใคร


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "ภิกษุ ธรรมดาพระขีณาสพ
ทั้งหลาย ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย ต่อใครๆ, เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว
เป็นผู้มีใจสงบแล้วเทียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
7. สนฺติ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.
"ใจของท่านผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ตอบ ผู้
สงบระงับ คงที่ เป็นใจสงบแล้ว วาจาก็สงบแล้ว
การงานก็สงบ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ ความว่า ใจของสมณะผู้
ขีณาสพนั้น ชื่อว่า สงบแล้วแท้ คือ ระงับ ได้แก่ ดับ เพราะความ
ไม่มีแห่งมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น, อนึ่งวาจา ชื่อว่า สงบแล้ว
เพราะความไม่มีแห่งวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น, และกายกรรม
ชื่อว่า สงบแล้วนั่นเทียว เพราะความไม่มีแห่งกายทุจริตมีปาณาติบาต
เป็นต้น.
บาทพระคาถาว่า สมฺมทญฺญา วิมุติตสฺส ความว่า ผู้พ้นวิเศษ
แล้ว ด้วยวิมุตติ 5 เพราะรู้โดยนัยโดยเหตุ.
บทว่า อุปสนฺตสฺส ความว่า ชื่อว่าผู้สงบระงับแล้ว เพราะความ
ระงับแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ณ ภายใน.