เมนู

6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทโม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน.
"ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสา
เขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว
เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี)
ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้:-
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบ
ดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอามีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลง
ในแผ่นดิน. อนึ่งเด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง
รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อม
สักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ใน
เพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดิน
หรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย 8, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะ
ความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชน
ทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า
"ชนเหล่านั้นย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย 4, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ;

โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและเป็นผู้เปรียบ
ด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใส
ฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตม
ทั้งหลายมีเปือกตมคือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว
ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น.
บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถ
แห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือ
ผู้เห็นปานนั้น.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 9 พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

7. เรื่องพระติสสเถระชาวกรุงโกสัมพี [77]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณรของ
พระติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ"
เป็นต้น.

ศิษย์บรรลุพระอรหัตก่อนอาจารย์


ดังได้สดับมา กุลบุตรชาวกรุงโกสัมพีผู้หนึ่ง บวชในพระศาสนา
ได้อุปสมบทแล้วปรากฏว่า "พระโกสัมพีวาสีติสสเถระ." เมื่อพระเถระ
นั้นจำพรรษาอยู่ในกรุงโกสัมพี อุปัฏฐากนำไตรจีวร เนยใสและน้ำอ้อย
มาวางไว้ใกล้เท้า. ครั้งนั้นพระเถระกล่าวกะอุปัฏฐากนั้นว่า "นี้อะไร ?
อุบาสก."
อุปัฏฐาก. กระผมนิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษามิใช่หรือ ขอรับ,
ก็พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในวิหารของพวกกระผม ย่อมได้ลาภนั้น, นิมนต์
รับเถิด ขอรับ.
พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก. ความต้องการด้วยวัตถุนี้ ของเรา
ไม่มี.
อุปัฏฐาก. เพราะเหตุอะไร ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกัปปิยการกในสำนักของเรา ก็ไม่มี
ผู้มีอายุ.