เมนู

6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทโม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน.
"ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสา
เขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว
เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี)
ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้:-
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบ
ดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอามีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลง
ในแผ่นดิน. อนึ่งเด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง
รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อม
สักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ใน
เพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดิน
หรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย 8, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะ
ความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชน
ทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า
"ชนเหล่านั้นย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย 4, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ;