เมนู

ขีณาสพทั้งหลายแล้ว. เมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนอยู่นั่นแล, ความ
เร่าร้อนเกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้นของภิกษุผู้กล่าวตู่แล้ว. ทันใดนั้นแล ภิกษุ
นั้นหมอบลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศโทษ
ในเพราะความกล่าวตู่ ด้วยคำอันไม่จริงแสดงโทษล่วงเกินแล้ว.

จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน


พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า " สารีบุตร เธอจง
อดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย, ตลอดเวลาที่ศีรษะของเขา จักไม่แตกโดย 7
เสี่ยง." พระเถระนั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า
ข้าพระองก์ยอมอดโทษต่อผู้มีอายุนั้น, และขอผู้มีอายุนั้นจงอดโทษต่อ
ข้าพระองค์. ถ้าว่าโทษของข้าพระองค์มีอยู่." ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า
" ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม,
พระเถระไม่กระทำความโกรธหรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย
ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตูด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลีให้ภิกษุนั้นอดโทษ."
พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอพูดอะไรกัน ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้พระเจ้าข้า"
ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษ-
ร้ายเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้. ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตร
เช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับท้วงน้ำใส" เมื่อ
จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทโม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน.
"ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสา
เขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว
เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี)
ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้:-
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบ
ดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอามีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลง
ในแผ่นดิน. อนึ่งเด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง
รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อม
สักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ใน
เพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดิน
หรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย 8, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะ
ความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชน
ทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า
"ชนเหล่านั้นย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย 4, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ;