เมนู

เถระด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น
ไหว้แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

เทพดารักใคร่ภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์


ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "ท้าวสักกะทรงเห็นแก่หน้า จึงทำ
สักการะ, ไม่ทรงทำสักการะเห็นปานนี้แก่พระสาวกผู้ใหญ่ที่เหลือ เห็น
พระมหากัจจายนเถระแล้ว จับข้อเท้าทั้งสองโดยเร็ว ตรัสว่า 'พระ-
ผู้เป็นเจ้าของเรามา ดีหนอ, เราหวังการมาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทีเดียว'
ดังนี้แล้ว ทรงนวดเท้าทั้งสองด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาแล้ว ไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง." พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุ
ทั้งหลายนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีทวารอันตนคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เช่นกับด้วยมหากัจจายนะผู้บุตรของเราย่อมเป็น
ที่รักของเหล่าเทพเจ้านั่นเทียว" เมื่อจะทรงสืบอันสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. ยสฺสินฺทฺริยานิ สมถงฺคตานิ
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา
ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน.
"อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบแล้ว
เหมือนเม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น, แม้เหล่า
เทพเจ้า ย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละ
แล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่".

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้ :-
อินทรีย์ 6 ของภิกษุใดถึงความสงบ คือความเป็นอินทรีย์อันตน
ทรมานแล้ว ได้แก่ความเป็นอินทรีย์หมดพยศร้าย เหมือนม้าอันนายสารถี
ผู้ฉลาดฝึกดีแล้วฉะนั้น, ต่อภิกษุนั้น ผู้ชื่อว่ามีมานะอันละแล้ว เพราะ
ละมานะมีอย่าง 9 ดำรงอยู่ ผู้ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะ 4.
บทว่า ตาทิโน ความว่า ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์ ย่อมกระหยิ่ม
คือย่อมปรารถนาการเห็น และการมาของภิกษุผู้เห็นปานนั้น ผู้ดำรงอยู่
โดยภาวะแห่งผู้คงที่.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระมหากัจจายนเถระ จบ.