เมนู

5. เรื่องพระมหากัจจายนเถระ [75]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภพระมหากัจจา-
ยนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺสินฺทฺริยานิ" เป็นต้น.

พระเถระยกย่องการฟังธรรม


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาอันพระสาวกหมู่ใหญ่
แวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง ณ ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา ในวัน
มหาปวารณา. ในสมัยนั้น พระมหากัจจายนเถระอยู่ในอวันตีชนบท
ก็ท่านนั้นมาแล้วแม้แต่ที่ไกล ย่อมยกย่องการฟังธรรมนั่นเทียว. เพราะ-
ฉะนั้น พระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายเมื่อจะนั่ง จึงนั่งเว้นอาสนะไว้เพื่อ
พระมหากัจจายนเถระ. ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาจากเทวโลกทั้งสองพร้อม
ด้วยเทพบริษัท ทรงบูชาพระศาสดา ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้
อันเป็นทิพย์เป็นต้นแล้ว ประทับยืนอยู่ มิได้เห็นพระมหากัจจายนเถระ
จึงทรงรำพึงว่า " เพราะเหตุอะไรหนอแล ? พระผู้เป็นเจ้าของเราจึงไม่
ปรากฏ. ก็ถ้าพระผู้เป็นเจ้าพึงมา, การมาของท่านนั้น เป็นการดีแล."
พระเถระมาแล้วในขณะนั้นนั่นเอง แสดงตนซึ่งนั่งแล้วบนอาสนะของตน
นั่นแล. ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้ว ทรงจับข้อเท้าทั้งสอง
อย่างมั่นแล้ว ตรัสว่า " พระผู้เป็นเจ้าของเรามาแล้วหนอ. เราหวังการ
มาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทีเดียว " ดังนี้แล้ว ก็ทรงนวดเท้าทั้งสองของพระ-

เถระด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น
ไหว้แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

เทพดารักใคร่ภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์


ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "ท้าวสักกะทรงเห็นแก่หน้า จึงทำ
สักการะ, ไม่ทรงทำสักการะเห็นปานนี้แก่พระสาวกผู้ใหญ่ที่เหลือ เห็น
พระมหากัจจายนเถระแล้ว จับข้อเท้าทั้งสองโดยเร็ว ตรัสว่า 'พระ-
ผู้เป็นเจ้าของเรามา ดีหนอ, เราหวังการมาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทีเดียว'
ดังนี้แล้ว ทรงนวดเท้าทั้งสองด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาแล้ว ไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง." พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุ
ทั้งหลายนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีทวารอันตนคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เช่นกับด้วยมหากัจจายนะผู้บุตรของเราย่อมเป็น
ที่รักของเหล่าเทพเจ้านั่นเทียว" เมื่อจะทรงสืบอันสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
5. ยสฺสินฺทฺริยานิ สมถงฺคตานิ
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา
ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน.
"อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบแล้ว
เหมือนเม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น, แม้เหล่า
เทพเจ้า ย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละ
แล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่".