เมนู

พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร


ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ 500 รูป
เป็นบริวาร เสด็จไปวิหารประทับนั่งแล้ว. แม้พระเถระผู้ใหญ่ 80 รูป
ก็นั่งแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน. พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อ
เย็บจีวร. พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง. พระอานนท์เถระนั่งในที่สุด.
ภิกษุสงฆ์กรอด้าย. พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม. พระมหา-
โมคคัลลานเถระ. ความต้องการด้วยวัตถุใด ๆ มีอยู่. เที่ยวน้อมนำวัตถุ
นั้น ๆ มาแล้ว. แม้เทพธิดาเข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้รับภิกษา
ว่า " ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระศาสดาทรงทำจีวรแก่พระอนุรุทธเถระ
ผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลายวันนี้ อันพระอสีติมหาสาวกแวดล้อม ประทับ
นั่งอยู่ในวิหาร กับภิกษุ 500 รูป. พวกท่านจงถือข้าวยาคูเป็นต้น ไป
วิหาร. " แม้พระมหาโมคคัลลานเถระ นำชิ้นชมพู่ใหญ่มาแล้วในระหว่าง
ภัต. ภิกษุ 500 รูปไม่อาจเพื่อขบฉันให้หมดได้. ท้าวสักกะได้ทรงทำ
การประพรมในที่เป็นที่กระทำจีวร. พื้นแผ่นดินได้เป็นราวกะว่าย้อมด้วย
น้ำครั่ง. กองใหญ่แห่งข้าวยาคูของควรเคี้ยวและภัต อันภิกษุทั้งหลาย
ฉันเหลือ ได้มีแล้ว.

พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย


ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " ประโยชน์อะไร ? ของภิกษุมีประมาณ
เท่านี้ ด้วยข้าวยาคูเป็นต้นอันมากอย่างนั้น. ญาติและอุปัฏฐาก อันภิกษุ
ทั้งหลายกำหนดประมาณแล้ว พึงพูดว่า 'พวกท่าน จงนำวัตถุชื่อมี
ประมาณเท่านี้มา มิใช่หรือ ? พระอนุรุทธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้

ความที่แห่งญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก." ลำดับนั้น พระศาสดา
ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?"
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พูดเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า" จึงตรัสถาม
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอสำคัญว่า 'ของนี้อันอนุรุทธะให้นำมา
แล้วหรือ ?" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" พระ-
ศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธะผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำ
เห็นปานนั้น, แท้จริง พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวกถาปฏิสังยุต
ด้วยปัจจัย ก็บิณฑบาตนี้ เกิดแล้วด้วยอานุภาพของเทวดา" เมื่อจะ
ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา อาหาเร จ อนิสฺสิโต
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ ปทนฺตสฺส ทุรนฺนยํ.
"อาสวะทั้งหลาย ของบุคคลใด สิ้นแล้ว,
บุคคลใด ไม่อาศัยแล้ว ในอาหาร, และสุญญต-
วิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ เห็นโคจรของบุลคลใด,
ร่องรอยของบุคคลนั้น ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของ
นกทั้งหลายในอากาศฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสาสวา ความว่า อาสวะ 4
ของบุคคลใด สิ้นแล้ว. บาทพระคาถาว่า อาหาเร จ อนิสฺสิโต ความว่า
อันตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย ไม่อาศัยแล้ว ในอาหาร.