เมนู

" คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้, ผู้กำหนด
รู้โภชนะ, มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์เป็น
อารมณ์, ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนกใน
อากาศฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สนฺนิจโย1 สั่งสมมี 2 อย่าง คือ
สั่งสมกรรม 1 สั่งสมปัจจัย 1; ในการสั่งสม 2 อย่างนั้น กรรมที่
เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่าสั่งสมกรรม. ปัจจัย 4 ชื่อว่าสั่งสมปัจจัย.
ในสั่งสม 2 อย่างนั้น สั่งสมปัจจัยย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้อยู่ในวิหาร เก็บน้ำ
อ้อยก้อนหนึ่ง เนยใสสักเท่าเสี้ยวที่ 4 และข้าวสารทะนานหนึ่งไว้.
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เก็บไว้ยิ่งกว่านั้น; สั่งสม 2 อย่างนี้ของชนเหล่าใดไม่มี.
บทว่า ปริญฺญาตโภชนา คือกำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา 3.
ก็การรู้โภชนะมีข้าวต้มเป็นต้น โดยความเป็นข้าวต้มเป็นต้น ชื่อว่า
ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันรู้อยู่แล้ว). ส่วนการกำหนดรู้โภชนะ
ด้วยอำนาจสำคัญเห็นในอาหารปฏิกูล ชื่อว่าตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วย
อันไตร่ตรอง). ญาณเป็นเหตุถอนความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
โภชนาหารออกเสีย ชื่อว่าปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันละเสีย);
ชนเหล่าใด กำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา 3 นี้.
ในบาทพระคาถาว่า สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ นี้ แม้อัปปณิหิต-
วิโมกข์ ก็ทรงถือเอาด้วยแท้. เหตุว่า บทเหล่านั้นทั้ง 3 เป็นชื่อแห่ง
1. บาลี เป็น สนฺนิจฺจโย.

พระนิพพานนั่นแล. จริงอยู่ พระนิพพานท่านกล่าวว่าสุญญตวิโมกข์
เหตุว่า ว่าง เพราะไม่มีแห่งราคะโทสะโมหะ และพ้นจากราคะโทสะ
โมหะนั้น, พระนิพพานนั้น ท่านกล่าวว่าอนิมิตตวิโมกข์ เหตุว่า
หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีแห่งนิมิตมีราคะเป็นต้น และพ้นแล้วจากนิมิต
เหล่านั้น. อนึ่งท่านกล่าวว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เหตุว่า มิได้ตั้งอยู่
เพราะไม่มีแห่งปณิธิ คือกิเลสเป็นเหตุตั้งอยู่มีราคะเป็นต้น และพ้นแล้ว
จากปณิธิเหล่านั้น. วิโมกข์ 3 อย่างนั้น เป็นอารมณ์ของชนเหล่าใด ผู้
ทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจเข้าสมาบัติ สัมปยุตด้วย
ผลจิตอยู่.
บาทพระคาถาว่า คติ เตสํ ทุรนฺวยา ความว่า เหมือนอย่าง
ว่า ทางไปของฝูงนกผู้ไปแล้วโดยอากาศไปตามยาก คือไม่อาจจะรู้ เพราะ
ไม่เห็นรอยเท้า ฉันใด; คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสม 2 อย่างนี้มิได้
ผู้กำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา 3 นี้ และผู้มีวิโมกข์มีประการอันกล่าว
แล้วนี้เป็นอารมณ์ ก็ไปตามยาก คือไม่อาจบัญญัติ เพราะไม่ปรากฏแห่ง
การไปว่า "ไปแล้ว ในส่วน 5 นี้ คือ ' ภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5
วิญญาณฐิติ 7 สัตตาวาส 9 ' โดยส่วนชื่อนี้ ๆ " ฉันนั้นแล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเพฬัฎฐสีสเถระ จบ.

4. เรื่องพระอนุรุทธเถระ


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระอนุรุทธเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา " เป็นต้น.

เทพธิดาถวายผ้าแก่พระอนุรุทธเถระ


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว แสวงหา
จีวรในที่ทั้งหลายมีกองหยากเยื่อเป็นต้น. หญิงภรรยาเก่าของพระเถระนั้น
ในอัตภาพที่ 3 แต่อัตภาพนี้ ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อชาลินี ในดาวดึงส-
ภพ. นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่
ถือผ้าทิพย์ 3 ผืน ยาว 3 ศอก กว้าง 4 ศอก แล้วคิดว่า " ถ้าเรา
จักถวายโดยทำนองนี้. พระเถระจักไม่รับ " จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อ
แห่งหนึ่ง ข้างหน้าของพระเถระนั้น ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่ โดย
อาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้น จะปรากฏได้. พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้า
อยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้น
นั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้วถือเอาด้วยคิดว่า " ผ้านี้
เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ " ดังนี้แล้วหลีกไป.