เมนู

3. เรื่องพระเพฬัฏฐสีสเถระ [73]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชต วันทรงปรารภท่านเพฬัฏฐสีสะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เยสํ สนฺนิจโย นตฺถิ" เป็นต้น.

ทรงบัญญัติสันนิธิการสิกขาบท


ดังได้สดับมา ท่านนั้นเที่ยวบิณฑบาตถนนหนึ่ง ภายในบ้าน
ทำภัตกิจแล้ว เที่ยวถนนอื่นอีก ถือเอาข้าวตากนำไปวิหารเก็บไว้ คิดเห็น
ว่า " ขึ้นชื่อว่าการเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตร่ำไป เป็นทุกข์" ยังวันเล็ก
น้อยให้ล่วงไป ด้วยสุขในฌานแล้ว, เมื่อต้องการด้วยอาหารมีขึ้น, ย่อม
ฉันข้าวตากนั้น. พวกภิกษุรู้เข้าติเตียนแล้ว ทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระศาสดาแม้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประ-
โยชน์เว้นการสั่งสมต่อไปในเพราะเหตุนั้นแล้ว ก็ต่อเมื่อจะทรงประกาศ
ความหาโทษมิได้แห่งพระเถระ เพราะการเก็บอาหารนั้น อันพระเถระ
อาศัยความมักน้อย ทำเมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท เมื่อจะทรงสืบ
อนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
3. เยสํ สนฺนิจฺจโย นตฺถิ เย ปฺริญฺญาตโภชนา
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข เยส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ คติ เตสํ ทุรนฺนยา.

" คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้, ผู้กำหนด
รู้โภชนะ, มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์เป็น
อารมณ์, ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนกใน
อากาศฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สนฺนิจโย1 สั่งสมมี 2 อย่าง คือ
สั่งสมกรรม 1 สั่งสมปัจจัย 1; ในการสั่งสม 2 อย่างนั้น กรรมที่
เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่าสั่งสมกรรม. ปัจจัย 4 ชื่อว่าสั่งสมปัจจัย.
ในสั่งสม 2 อย่างนั้น สั่งสมปัจจัยย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้อยู่ในวิหาร เก็บน้ำ
อ้อยก้อนหนึ่ง เนยใสสักเท่าเสี้ยวที่ 4 และข้าวสารทะนานหนึ่งไว้.
ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เก็บไว้ยิ่งกว่านั้น; สั่งสม 2 อย่างนี้ของชนเหล่าใดไม่มี.
บทว่า ปริญฺญาตโภชนา คือกำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา 3.
ก็การรู้โภชนะมีข้าวต้มเป็นต้น โดยความเป็นข้าวต้มเป็นต้น ชื่อว่า
ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันรู้อยู่แล้ว). ส่วนการกำหนดรู้โภชนะ
ด้วยอำนาจสำคัญเห็นในอาหารปฏิกูล ชื่อว่าตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วย
อันไตร่ตรอง). ญาณเป็นเหตุถอนความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
โภชนาหารออกเสีย ชื่อว่าปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันละเสีย);
ชนเหล่าใด กำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา 3 นี้.
ในบาทพระคาถาว่า สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ นี้ แม้อัปปณิหิต-
วิโมกข์ ก็ทรงถือเอาด้วยแท้. เหตุว่า บทเหล่านั้นทั้ง 3 เป็นชื่อแห่ง
1. บาลี เป็น สนฺนิจฺจโย.