เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อุยฺยุญฺชนฺติ สตีมนฺโต ความ
ว่า ท่านผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ คือว่าท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมขวน
ขวาย ร่ำอยู่ในคุณอันตนแทงตลอดแล้ว มีฌานและวิปัสสนาเป็นต้น
ด้วยนึกถึง ด้วยเข้าสมาบัติ ด้วยออกจากสมาบัติ ด้วยตั้งใจอยู่ในสมาบัติ
และด้วยพิจารณาถึง.
บาทพระคาถาว่า น นิเกเค รมนฺติ เต คือชื่อว่าความยินดีใน
ที่ห่วงของท่าน ย่อมไม่มี.
บทว่า หํสาว นี้ เป็นแง่แห่งเทศนา. ก็นี้ความอธิบายในคำนี้
ว่า :- ฝูงนกถือเอาเหยื่อของตน ในเปือกตมอันบริบูรณ์ด้วยเหยื่อแล้ว
ในเวลาไป ไม่ทำความห่วงสักหน่อยในที่นั้นว่า "น้ำของเรา, ดอก
ปทุมของเรา, ดอกอุบลของเรา, ดอกบุณฑริกของเรา. หญ้าของเรา"
หาความเสียดายมิได้เทียว ละประเทศนั้น บินเล่นไปในอากาศ ฉันใด :
พระขีณาสพทั้งหลายนั่น ก็ฉันนั้นแล แม้อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ข้องแล้ว
ในสกุลเป็นต้นเทียวอยู่ แม้ในคราวไป ละที่นั้นไปอยู่ หาความห่วงหา
ความเสียดายว่า " วิหารของเรา, บริเวณของเรา, อุปัฏฐากของเรา"
มิได้เทียว ไปอยู่.
บทว่า โอกโมกํ คือ อาลัย, ความว่า ละความห่วงทั้งปวงเสีย.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระมหากัสสปเถระ จบ.

3. เรื่องพระเพฬัฏฐสีสเถระ [73]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชต วันทรงปรารภท่านเพฬัฏฐสีสะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เยสํ สนฺนิจโย นตฺถิ" เป็นต้น.

ทรงบัญญัติสันนิธิการสิกขาบท


ดังได้สดับมา ท่านนั้นเที่ยวบิณฑบาตถนนหนึ่ง ภายในบ้าน
ทำภัตกิจแล้ว เที่ยวถนนอื่นอีก ถือเอาข้าวตากนำไปวิหารเก็บไว้ คิดเห็น
ว่า " ขึ้นชื่อว่าการเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตร่ำไป เป็นทุกข์" ยังวันเล็ก
น้อยให้ล่วงไป ด้วยสุขในฌานแล้ว, เมื่อต้องการด้วยอาหารมีขึ้น, ย่อม
ฉันข้าวตากนั้น. พวกภิกษุรู้เข้าติเตียนแล้ว ทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระศาสดาแม้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประ-
โยชน์เว้นการสั่งสมต่อไปในเพราะเหตุนั้นแล้ว ก็ต่อเมื่อจะทรงประกาศ
ความหาโทษมิได้แห่งพระเถระ เพราะการเก็บอาหารนั้น อันพระเถระ
อาศัยความมักน้อย ทำเมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท เมื่อจะทรงสืบ
อนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
3. เยสํ สนฺนิจฺจโย นตฺถิ เย ปฺริญฺญาตโภชนา
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข เยส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ คติ เตสํ ทุรนฺนยา.