เมนู

1. คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ.
" ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล
อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน
ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึง
แล้ว. ชื่อว่าทางไกลมี 2 อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือ
วัฏฏะ, บรรดาทางไกล 2 อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร, ยังไม่ถึงที่ ๆ
คนปรารถนาเพียงใด ; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อ
ทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์
ทั้งหลายแม้ผู้อาวัฏฏะ, คนยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกล
เรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะ
ความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระ-
โสดาบันเป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพยัง
วัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว. แก่
พระขีณาสพนั้นผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว.
บทว่า วิโสกสฺส คือชื่อว่าผู้หาความเศร้าโศกมิได้ เพราะความ
ที่ความเศร้าโศกมีวัฏฏะเป็นมูลปราศจากไปแล้ว.
บาทพระคาถาว่า วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ คือผู้หลุดพ้นแล้วใน
ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง.

บาทพระคาถาว่า สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส คือ ชื่อว่าผู้ละกิเลสเครื่อง
ร้อยรัดทั้งปวงได้ เพราะความที่กิเลสเครื่องร้อยรัด 4 อย่างอันตนละได้
แล้ว.
บาทพระคาถาว่า ปริฬาโห น วิชฺชติ ความว่า ความเร่าร้อน
มี 2 อย่าง คือ ความเร่าร้อนเป็นไปทางกายอย่าง 1 ความเร่าร้อนเป็น
ไปทางจิตอย่าง 1. บรรดาความเร่าร้อน 2 อย่างนั้น ความเร่าร้อนเป็น
ไปทางกาย ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ด้วยสามารถแห่งผัสสะมีหนาวและ
ร้อนเป็นต้น ยังไม่ดับเลย, หมอชีวกทูลถามหมายถึงความเร่าร้อนอัน
เป็นไปทางกายนั้น. แต่พระศาสดาทรงพลิกแพลงพระเทศนาด้วย สามารถ
แห่งความเร่าร้อนอันเป็นไปทางจิต เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ฉลาดใน
เทศนาวิธี เพราะความที่พระองค์เป็นพระธรรมราชาจึงตรัสว่า "ชีวก
ผู้มีอายุ ก็โดยปรมัตถ์ ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพผู้เห็น
ปานนั้น."
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องหมอชีวก จบ.

2. เรื่องพระมหากัสสปเถระ [72]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหากัสสป-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุยฺยุญฺชนฺติ" เป็นต้น.

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าผู้จะเสด็จจาริก


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในกรุง-
ราชคฤห์ รับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " โดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน
เราจักหลีกไปสู่ที่จาริก."
ได้ยินว่า การรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บัดนี้เราจักหลีก
ไปสู่ที่จาริกโดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน" ดังนี้ ด้วยทรงประสงค์ว่า "ภิกษุ
ทั้งหลายจักทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรและย้อมจีวรเป็นต้นของตนแล้ว
จักไปตามสบาย ด้วยอาการอย่างนี้ " นี้เป็นธรรมเนียนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ผู้มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปกับพวกภิกษุ. ก็เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรเป็นต้นของตนอยู่. แม้พระมหากัสสป-
เถระ ก็ชักจีวรทั้งหลายแล้ว.

พวกภิกษุว่าพระเถระละญาติและอุปัฏฐากไปไม่ได้


พวกภิกษุยกโทษว่า "เพราะเหตุไร พระเถระจึงชักจีวร ? ใน
พระนครนี้ ทั้งภายในและภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ 18 โกฏิ: บรรดา
มนุษย์เหล่านั้น พวกใดไม่เป็นญาติของพระเถระ, พวกนั้นเป็น