เมนู

" พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ประกอบเภสัชแก่มนุษย์ผู้หนึ่งภายในพระนคร,
ข้าพระองค์จักไปยังสำนักของมนุษย์นั้นแล้ว จัก ( กลับ) มาเฝ้า นี้จงตั้ง
อยู่โดยนิยามที่ข้าพระองค์พันไว้นั่นแหละจนกว่าข้าพระองค์จะกลับมาเฝ้า."
เขาไปทำกิจที่ควรทำแก่บุรุษนั้นแล้ว กลับมาในเวลาปิดประตู
จึงไม่ทันประตู. ทีนั้น เขาได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า "แย่จริง เราทำ
กรรมหนักเสียแล้ว ที่เราถวายเภสัชอย่างชะงัด พันแผลที่พระบาทของ
พระตถาคตเจ้า ดุจคนสามัญ;1 เวลานี้เป็นเวลาแก้แผลนั้น, เมื่อแผลนั้น
อันเรายังไม่แก้, ความเร่าร้อนในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเกิด
ตลอดคืนยังรุ่ง."

แผลของพระศาสดาหายสนิท


ขณะนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนทเถระมาเฝ้า รับสั่งว่า
" อานนท์ หมอชีวกมาในเวลาเย็นไม่ทันประตู, ก็เขาคิดว่า 'เวลานี้
เป็นเวลาแก้แผล,' เธอจงแก้แผลนั้น." พระเถระแก้แล้ว. แผลหายสนิท
ดุจสะเก็ดไม้หลุดออกจากต้นไม้.

พระอรหันต์ไม่มีความเร่าร้อนใจ


หมอชีวกมายังสำนักพระศาสดาโดยเร็ว ภายในอรุณนั่นแล ทูลถาม
ว่า "พระเจ้าข้า ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในพระสรีระของพระองค์หรือไม่ ?"
พระศาสดาตรัสว่า "ชีวก ความเร่าร้อนทั้งปวงของตถาคตสงบราบคาบ
แล้ว ที่ควงโพธิพฤกษ์นั่นแล" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. อญฺญตรสฺส แปลว่า คนใดคนหนึ่ง.

1. คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ.
" ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล
อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน
ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึง
แล้ว. ชื่อว่าทางไกลมี 2 อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือ
วัฏฏะ, บรรดาทางไกล 2 อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร, ยังไม่ถึงที่ ๆ
คนปรารถนาเพียงใด ; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อ
ทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์
ทั้งหลายแม้ผู้อาวัฏฏะ, คนยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกล
เรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะ
ความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระ-
โสดาบันเป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพยัง
วัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว. แก่
พระขีณาสพนั้นผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว.
บทว่า วิโสกสฺส คือชื่อว่าผู้หาความเศร้าโศกมิได้ เพราะความ
ที่ความเศร้าโศกมีวัฏฏะเป็นมูลปราศจากไปแล้ว.
บาทพระคาถาว่า วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ คือผู้หลุดพ้นแล้วใน
ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง.