เมนู

7. อรหันตวรรควรรณนา


1. เรื่องหมอชีวก [71]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในสวนมะม่วงของหมอชีวก ทรงปรารภ
ปัญหาอันหมอชีวกทูลถามแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คตทฺธิโน"
เป็นต้น.

พระเทวทัตทำโลหิตุปบาทกรรม


เรื่องหมอชีวก ท่านให้พิสดารในขันธกะแล้วแล.
ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระเทวทัตเป็นผู้ร่วมคิดกับพระเจ้า
อชาตศัตรูขึ้นสู่เขาคิชฌกูฎ มีจิตคิดร้าย คิดว่า "เราจักปลงพระชนม์
พระศาสดา" จึงกลิ้งหินลง. ยอดเขา 2 ยอดรับหินนั้นไว้. สะเก็ดซึ่ง
แตกออกจากหินนั้น กระเด็นไป กระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังพระโลหิตให้ห้อแล้ว. เวทนากลับเป็นไปแล้ว.

หมอชีวกทำการพยาบาลแล้ว


ภิกษุทั้งหลายนำพระศาสดาไปยังสวนมัททกุจฉิ. พระศาสดามีพระ-
ประสงค์จะเสด็จ แม้จากสวนมัททกุจฉินั้นไปยังสวนมะม่วงของหมอชีวก
จึงตรัสว่า " เธอทั้งหลาย จงนำเราไปในสวนมะม่วงของหมอชีวกนั้น."
พวกภิกษุได้พาพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังสวนมะม่วงของหมอชีวกแล้ว. หมอ
ชีวกทราบเรื่องนั้น ไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายเภสัชขนานที่ชะงัด เพื่อ
ประโยชน์กำชับแผล พันแผลเสร็จแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า

" พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ประกอบเภสัชแก่มนุษย์ผู้หนึ่งภายในพระนคร,
ข้าพระองค์จักไปยังสำนักของมนุษย์นั้นแล้ว จัก ( กลับ) มาเฝ้า นี้จงตั้ง
อยู่โดยนิยามที่ข้าพระองค์พันไว้นั่นแหละจนกว่าข้าพระองค์จะกลับมาเฝ้า."
เขาไปทำกิจที่ควรทำแก่บุรุษนั้นแล้ว กลับมาในเวลาปิดประตู
จึงไม่ทันประตู. ทีนั้น เขาได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า "แย่จริง เราทำ
กรรมหนักเสียแล้ว ที่เราถวายเภสัชอย่างชะงัด พันแผลที่พระบาทของ
พระตถาคตเจ้า ดุจคนสามัญ;1 เวลานี้เป็นเวลาแก้แผลนั้น, เมื่อแผลนั้น
อันเรายังไม่แก้, ความเร่าร้อนในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเกิด
ตลอดคืนยังรุ่ง."

แผลของพระศาสดาหายสนิท


ขณะนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนทเถระมาเฝ้า รับสั่งว่า
" อานนท์ หมอชีวกมาในเวลาเย็นไม่ทันประตู, ก็เขาคิดว่า 'เวลานี้
เป็นเวลาแก้แผล,' เธอจงแก้แผลนั้น." พระเถระแก้แล้ว. แผลหายสนิท
ดุจสะเก็ดไม้หลุดออกจากต้นไม้.

พระอรหันต์ไม่มีความเร่าร้อนใจ


หมอชีวกมายังสำนักพระศาสดาโดยเร็ว ภายในอรุณนั่นแล ทูลถาม
ว่า "พระเจ้าข้า ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในพระสรีระของพระองค์หรือไม่ ?"
พระศาสดาตรัสว่า "ชีวก ความเร่าร้อนทั้งปวงของตถาคตสงบราบคาบ
แล้ว ที่ควงโพธิพฤกษ์นั่นแล" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. อญฺญตรสฺส แปลว่า คนใดคนหนึ่ง.