เมนู

ความยินดียิ่งในวิเวก อันเป็นซึ่งประชายินดีได้ยาก,
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง.
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบ ในองค์ธรรมแห่ง
ความตรัสรู้, (และ) ชนเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดี
ในการละเลิกความถือมั่น, ชนเหล่านั้น ๆ เป็น
พระขีณาสพ รุ่งเรื่อง ดับสนิทแล้วในโลก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กณฺหํ ธมฺมํ ความว่า ละ คือ
สละอกุศลธรรม ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้น.
สองบทว่า สุกฺกํ ภาเวถ ความว่า ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควร
เจริญธรรมขาว ต่างโดยเป็นกายสุจริตเป็นต้น ตั้งแต่ออกบวช จน
ถึงอรหัตมรรค. เจริญอย่างไร ? คือออกจากอาลัย ปรารภธรรมอันหา
อาลัยมิได้.
อธิบายว่า ธรรมเป็นเหตุให้อาลัย ตรัสเรียกว่าโอกะ ธรรมเป็น
เหตุให้ไม่มีอาลัย ตรัสเรียกว่า อโนกะ, บัณฑิตออกจากธรรมเป็นเหตุ
ให้อาลัยแล้ว เจาะจง คือปรารภพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นเหตุ
ไม่มีอาลัย เมื่อปรารถนาพระนิพพานนั้น ควรเจริญธรรมขาว.
บาทพระคาถาว่า ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย ความว่า พึงปรารถนา
ความยินดียิ่งในวิเวก ที่นับว่าเป็นธรรมอันไม่มีอาลัย คือพระนิพพาน
ซึ่งสัตว์เหล่านั้นอภิรมย์ได้โดยยาก.
สองบทว่า หิตฺวา กาเม ความว่า ละวัตถุกามและกิเลสกาม
แล้วเป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก.

บทว่า จิตฺตเกฺลเสหิ ความว่า พึงทำตนให้ขาวผ่อง คือให้
บริสุทธิ์จากนิวรณ์ 5.
บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่ ในธรรมเป็นองค์เครื่องตรัสรู้.
บาทพระคาถาว่า สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ ความว่า (ชน
เหล่าใด) อบรม คือเจริญจิตด้วยดีแล้ว ตามเหตุ คือตามนัย.
บาทพระคาถาว่า อาทานปฏินิสฺสคฺเค ความว่า ความยึดถือ
ตรัสเรียกว่า ความถือมั่น, ชนเหล่าใด ไม่ถืออะไร ๆ ด้วยอุปาทาน 4
ยินดีแล้วในการไม่ถือมั่น กล่าวคือการเลิกละความยึดถือนั้น.
บทว่า ชุติมนฺโต ความว่า ผู้มีอานุภาพ คือผู้ยังธรรมต่างโดย
ขันธ์เป็นต้นให้รุ่งเรือง แล้วดำรงมั่นอยู่ ด้วยความรุ่งเรืองคือญาณอัน
กำกับด้วยอรหัตมรรค.
สองบทว่า เต โลเก เป็นต้น ความว่า ชนเหล่าชั้นชื่อว่า
ดับสนิทแล้ว ในขันธาทิโลกนี้ คือปรินิพพานแล้ว ด้วยปรินิพพาน
2 อย่าง คือด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะกิเลสวัฏอันตน
ให้สิ้นไปแล้ว ตั้งแต่เวลาที่บรรลุพระอรหัต และด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า
อนุปาทิเสส เพราะขันธวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ด้วยดับจริมจิต คือถึง
ความหาบัญญัติไม่ได้ ดังประทีปหาเชื้อมิได้ฉะนั้น.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุอาคันตุกะ จบ.
บัณฑิตวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 6 จบ.

คาถาธรรมบท


อรหันตวรรค1ที่ 7


ว่าด้วยภิกษุอรหันต์


[17] 1. ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล
อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วในที่
ทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว.

2. ท่านผู้มีสติย่อมออก ท่านย่อมไม่ยินดีใน
ที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์ละเปือก
ตมไปฉะนั้น.

3. คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้ ผู้กำหนด
รู้โภชนะ มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์
เป็นอารมณ์ ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนก
ในอากาศฉะนั้น.

4. อาสวะทั้งหลายของบุคคลใดสิ้นแล้ว บุคคล
ใดไม่อาศัยแล้วในอาหารและสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต-
วิโมกข์ เป็นโคจรของบุคคลใด ร่องรอยของบุคคล
นั้น ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของนกทั้งหลายในอากาศ
ฉะนั้น.

5. อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบ
แล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น แม้

1. ในวรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.