เมนู

11. เรื่องภิกษุอาคันตุกะ [70]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ
อาคันคุกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย"
เป็นต้น .

พระศาสดาตรัสเหมาะแก่ความประพฤติ


ดังได้ทราบมาว่า ภิกษุประมาณ 500 รูป จำพรรษาอยู่ใน
แคว้นโกศล ออกพรรษาแล้ว ปรึกษากันว่า "จักเฝ้าพระศาสดา"
จึงไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สุแห่งหนึ่ง.
พระศาสดาทรงพิจารณาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์แก่จริยาของพวกเธอ เมื่อ
จะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
11. กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา.
" บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย อาศัย
ธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว, ละ
กามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล พึงปรารถนา

ความยินดียิ่งในวิเวก อันเป็นซึ่งประชายินดีได้ยาก,
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง.
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบ ในองค์ธรรมแห่ง
ความตรัสรู้, (และ) ชนเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดี
ในการละเลิกความถือมั่น, ชนเหล่านั้น ๆ เป็น
พระขีณาสพ รุ่งเรื่อง ดับสนิทแล้วในโลก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กณฺหํ ธมฺมํ ความว่า ละ คือ
สละอกุศลธรรม ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้น.
สองบทว่า สุกฺกํ ภาเวถ ความว่า ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควร
เจริญธรรมขาว ต่างโดยเป็นกายสุจริตเป็นต้น ตั้งแต่ออกบวช จน
ถึงอรหัตมรรค. เจริญอย่างไร ? คือออกจากอาลัย ปรารภธรรมอันหา
อาลัยมิได้.
อธิบายว่า ธรรมเป็นเหตุให้อาลัย ตรัสเรียกว่าโอกะ ธรรมเป็น
เหตุให้ไม่มีอาลัย ตรัสเรียกว่า อโนกะ, บัณฑิตออกจากธรรมเป็นเหตุ
ให้อาลัยแล้ว เจาะจง คือปรารภพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นเหตุ
ไม่มีอาลัย เมื่อปรารถนาพระนิพพานนั้น ควรเจริญธรรมขาว.
บาทพระคาถาว่า ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย ความว่า พึงปรารถนา
ความยินดียิ่งในวิเวก ที่นับว่าเป็นธรรมอันไม่มีอาลัย คือพระนิพพาน
ซึ่งสัตว์เหล่านั้นอภิรมย์ได้โดยยาก.
สองบทว่า หิตฺวา กาเม ความว่า ละวัตถุกามและกิเลสกาม
แล้วเป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก.