เมนู

10. เรื่องการฟังธรรม [69]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการฟังธรรม
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ" เป็นต้น.

คนอาศัยภพแล้วติดภพมีมาก


ดังได้สดับมา พวกมนุษย์ผู้อยู่ถนนสายเดียวกัน ในกรุงสาวัตถี
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ถวายทานโดยรวมกันเป็นคณะแล้ว ก็ให้ทำการ
ฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง, แต่ไม่อาจฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งได้; บางพวก
เป็นผู้อาศัยความยินดีในกามก็กลับไปเรือนเสียก่อน, บางพวกเป็นผู้อาศัย
โทสะไปแล้ว, แต่บางพวกง่วงงุนเต็มที นั่งสัปหงกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง
ไม่อาจจะฟังได้. ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้นในโรงธรรม
เจาะจงถึงเรื่องนั้น. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา
สัตว์เหล่านี้ อาศัยภพแล้วเลยข้องอยู่ในภพนั่นเอง โดยดาษดื่น, ชนิดผู้
ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย," เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า :-
10. อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ.

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ.
"บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย, ฝ่าย
ประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว. ก็ชน
เหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรา
กล่าวชอบแล้ว, ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้
ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปกา คือ นิดหน่อย ได้แก่
ไม่มาก. บทว่า ปารคามิโน คือบรรลุพระนิพพาน. บาทพระคาถาว่า
อถายํ อิตรา ปชา ความว่า ฝ่ายประชาที่เหลือนี้ใด ย่อมเลาะไปตาม
ริมตลิ่ง คือ สักกายทิฏฐิ, นี้แล มากนัก.
บทว่า สมฺมทกฺขาเต คือตรัสโดยชอบ ได้แก่ตรัสถูกต้อง.
บทว่า ธมฺเม คือ ในเทศนาธรรม. บทว่า ธมฺมานุวตฺติโน ความ
ว่า ประพฤติสมควรแก่ธรรม ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรมนั้นแล้ว
บำเพ็ญปฏิปทาเหมาะแก่ธรรมนั้นแล้ว กระทำมรรคผลให้แจ้ง.
บทว่า ปารเมสฺสนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น
จึงถึงฝั่งคือนิพพาน. บทว่า มจฺจุเธยฺยํ ได้แก่ วัฏฏะอันเป็นไปใน 3
ภูมิ อันเป็นสถานที่อยู่อาศัยของมัจจุ กล่าวคือกิเลสมาร.
บทว่า สุทุตฺตรํ ความว่า ชนเหล่าใดประพฤติธรรมสมควรแก่
ธรรม, ชนเหล่านั้นล่วงคือเลยบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอก คือก้าวล่วง