เมนู

"เราอยู่ครองเรือนเพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าใด, ชนเหล่านั้นแม้ทั้งสอง
ก็บวชแล้ว, บัดนี้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการครองเรือนเล่า ? เรา
จักบวชละ " แล้วจึงออกไปบวชในสำนักงานภิกษุณี, ก็แลครั้นบวชแล้ว
ไม่นานเลยก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พวกภิกษุสรรเสริญพระธรรมิกะ


ภายหลังวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันขึ้นในธรรมสภาว่า "ผู้มี
อายุทั้งหลาย ธรรมิกอุบาสก ออกบวช บรรลุพระอรหัตแล้ว ทั้งได้
เป็นที่พึ่งแก่บุตรและภรรยา ก็เพราะความที่ตนตั้งอยู่ในธรรม."
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอ นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า
"ด้วยกถาชื่อนี้พระเจ้าข้า" แล้ว, จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา
ว่าบัณฑิตไม่พึงปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งตน (และ) ไม่พึง
ปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น, แต่พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
มีธรรมเป็นที่พึ่งโดยแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระ-
คาถานี้ว่า :-
9. น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐ
น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน
ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยา.
"บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน,
ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น, บัณฑิต

ไม่พึงปรารถนาบุตร, ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ ไม่พึง
ปรารถนาแว่นแคว้น, ( และ) ไม่พึงปรารถนาความ
สำเร็จเพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม, บัณฑิตนั้นพึง
เป็นผู้มีศีล มีปัญญา ตั้งอยู่ในธรรม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตเหตุ ความว่า ธรรมดา
บัณฑิต ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตนหรือเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น.
บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า บัณฑิตไม่พึงปรารถนาบุตร
หรือทรัพย์ หรือแว่นแคว้น ด้วยกรรมอันลามก. บัณฑิตเมื่อปรารถนา
แม้สิ่งเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำกรรมลามกเลย.
บทว่า สมิทฺธิมตฺตโน ความว่า บัณฑิตไม่พึงปรารถนา แม้
ความสำเร็จเพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม. อธิบายว่า บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป
แม้เพราะเหตุแห่งความสำเร็จ
บทว่า ส สีลวา ความว่า บุคคลผู้เห็นปานนี้นั่นแล พึงเป็น
ผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม อธิบายว่า ไม่พึงเป็นอย่างอื่น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม จบ.