เมนู

" สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงแล.
สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่,1
บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม
ไม่แสดงอาการขึ้นลง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในธรรมทั้งหมด
ต่างโดยธรรมมีขันธ์ เป็นต้น . บุรุษดี ชื่อว่า สปฺปุริสา.
บทว่า วชนฺติ ความว่า สัตบุรุษเมื่อคร่าฉันทราคะออกด้วย
อรหัตมรรคญาณ ชื่อว่าย่อมเว้นฉันทราคะ.
บทว่า น กามกามา ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. ( อีกอย่างหนึ่ง) ได้
แก่ เพราะเหตุแห่งกาม คือเพราะกามเป็นเหตุ.
สองบทว่า ลปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่บ่นเพ้อด้วยตนเองเลย (ทั้ง ) ไม่ยังผู้อื่นให้
บ่นเพ้อ เพราะเหตุแห่งกาม. จริงอยู่ ภิกษุเหล่าใดเข้าไปเพื่อภิกษา
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร กล่าวคำเป็นต้นว่า " อุบาสก บุตรภรรยาของท่าน
ยังสุขสบายดีหรือ ? อุปัทวะไร ๆ ด้วยสามารถแห่งราชภัยและโจรภัย
เป็นต้น มิได้มีในสัตว์ 2 เท้าและสัตว์ 4 เท้าดอกหรือ ? " ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบ่นเพ้อเอง. ก็ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ( พูด )
ให้เขานิมนต์ตนว่า " อย่างนั้น ขอรับ พวกผมทุกคนมีความสุขดี.
1. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่พร่ำเพ้อ เพราะความใคร่ในกาม.
2. ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.

อุปัทวะไร ๆ มิได้มี, บัดนี้ เรือนของพวกผมมีข้าวน้ำเหลือเฟือ. นิมนต์
ท่านอยู่ในที่นี้แหละ " ดังนี้ ชื่อว่าให้บุคคลอื่นบ่นเพ้อ. ส่วนสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการบ่นเพ้อแม้ทั้งสองอย่างนั้น.
คำว่า สุเขน ผุฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน นี้ สักว่าเป็นเทศนา.
อธิบายว่า " บัณฑิตทั้งหลายผู้อันโลกธรรม1 8 ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
แสดงอาการขึ้นลง ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ยินดีและความเป็นผู้เก้อเขิน
หรือด้วยสามารถแห่งการกล่าวคุณและกล่าวโทษ. "
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 500 รูป จบ.
1. โลกธรรม 8 คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์.

9. เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม [68]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมิก-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น อตฺตเหตุ" เป็นต้น.

อุบาสกหนีไปบวชได้บรรลุพระอรหัต


ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี อยู่ครองเรืองโดยชอบ
ธรรม. อุบาสกนั้นเป็นผู้ใคร่จะบวช วันหนึ่งเมื่อนั่งสนทนาถึงถ้อยคำ
ปรารภความสุขกับภรรยา จึงพูดว่า "นางผู้เจริญ ฉันปรารถนาจะ
บวช." ภรรยาอ้อนวอนว่า "นาย ถ้ากระนั้น ขอท่านจงคอย จน
กว่าดิฉันจะคลอดบุตรซึ่งอยู่ในท้องก่อนเถิด." เขาคอยแล้ว ในเวลา
ที่เด็กเดินได้ จึงอำลานางอีก เมื่อนางวิงวอนว่า "นาย ขอท่านจงคอย
จนกว่าเด็กนี้เจริญวันเถิด." จึงมาคิดว่า "ประโยชน์อะไรของเราด้วย
หญิงนี้ ที่เราลาแล้วหรือไม่ลา, เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตนละ"
ดังนี้แล้ว ออกไปบวชแล้ว. ท่านเรียนกัมมัฏฐาน พากเพียนพยายามอยู่
ยังกิจแห่งบรรพชิตของตนให้สำเร็จแล้วจึง (กลับ) ไปเมืองสาวัตถีอีก
เพื่อประโยชน์แก่การเยี่ยมบุตรและภรรยาเหล่านั้น แล้วได้แสดงธรรมกถา
แก่บุตร.

บุตรและภรรยาออกบวชได้บรรลุพระอรหัต


แม้บุตรนั้นออกบวชแล้ว. ก็แลครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้
บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายภรรยาเก่าของภิกษุ (ผู้เป็นบิดา) นั้นคิดว่า