เมนู

" สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงแล.
สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่,1
บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม
ไม่แสดงอาการขึ้นลง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในธรรมทั้งหมด
ต่างโดยธรรมมีขันธ์ เป็นต้น . บุรุษดี ชื่อว่า สปฺปุริสา.
บทว่า วชนฺติ ความว่า สัตบุรุษเมื่อคร่าฉันทราคะออกด้วย
อรหัตมรรคญาณ ชื่อว่าย่อมเว้นฉันทราคะ.
บทว่า น กามกามา ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. ( อีกอย่างหนึ่ง) ได้
แก่ เพราะเหตุแห่งกาม คือเพราะกามเป็นเหตุ.
สองบทว่า ลปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่บ่นเพ้อด้วยตนเองเลย (ทั้ง ) ไม่ยังผู้อื่นให้
บ่นเพ้อ เพราะเหตุแห่งกาม. จริงอยู่ ภิกษุเหล่าใดเข้าไปเพื่อภิกษา
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร กล่าวคำเป็นต้นว่า " อุบาสก บุตรภรรยาของท่าน
ยังสุขสบายดีหรือ ? อุปัทวะไร ๆ ด้วยสามารถแห่งราชภัยและโจรภัย
เป็นต้น มิได้มีในสัตว์ 2 เท้าและสัตว์ 4 เท้าดอกหรือ ? " ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบ่นเพ้อเอง. ก็ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ( พูด )
ให้เขานิมนต์ตนว่า " อย่างนั้น ขอรับ พวกผมทุกคนมีความสุขดี.
1. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่พร่ำเพ้อ เพราะความใคร่ในกาม.
2. ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.