เมนู

พระศาสดาเสด็จไปกรุงสาวัตถี


พระศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชานั้น สิ้นไตรมาสแล้ว ทรง
อำลาเวรัญชพราหมณ์ มีสักการะสัมมานะอันพราหมณ์นั้นกระทำแล้ว
ทรงให้เขาตั้งอยู่ในสรณะแล้ว เสด็จออกจากเมืองเวรัญชานั้นเสด็จจาริก
ไปโดยลำดับ สมัยหนึ่ง เสด็จถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวัน
ชาวกรุงสาวัตถี กระทำอาคันตุกภัตแด่พระศาสดาแล้ว.
ก็ในกาลนั้น พวกกินแดนประมาณ 500 คน อาศัยพวกภิกษุ
อยู่ภายในวิหารนั่นเอง. พวกเขากินโภชนะอันประณีต ที่เหลือจากภิกษุ
ทั้งหลายฉันแล้ว ก็นอนหลับ ลุกขึ้นแล้ว ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ แผดเสียง
โห่ร้อง กระโดดโลดเต้น ซ้อมมวยปล้ำ เล่นกันอยู่ประพฤติแต่อนาจาร
เท่านั้น ทั้งภายในวิหาร ทั้งภายนอกวิหาร.
พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ดูเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย,
ในเวลาเกิดทุพภิกขภัย พวกกินเดนเหล่านี้ มิได้แสดงวิการอะไร ๆ
ในเมืองเวรัญชา, แต่บัดนี้ กินโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้แล้ว เที่ยว
แสดงอาการแปลก ๆ เป็นอเนกประการ ; ส่วนพวกภิกษุ สงบอยู่ แม้
ในเมืองเวรัญชา ถึงในบัดนี้ ก็พากันอยู่อย่างเสงี่ยมเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสวาโลทกชาดก


พระศาสดาเสด็จไปสู่โรงธรรมแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพูดอะไรกัน ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูล "เรื่องชื่อนี้" ดังนี้แล้ว
ตรัสว่า "แม้ในกาลก่อน คนกินเดนเหล่านี้ เกิดในกำเนิดลา เป็นลา

500 ได้ดื่มน้ำมีรสน้อยอันเลว ซึ่งถึงการนับว่า 'น้ำหาง' เพราะ
ความที่เขาเอาน้ำขยำกากอันเป็นแดนซึ่งเหลือจากน้ำลูกจันทน์มีรสชุ่ม ที่ม้า
สินธพชาติอาชาไนย 500 ดื่มแล้ว จึงกรองด้วยผ้าเปลือกปอเก่า ๆ เป็น
เหมือนเมาน้ำหวาน เที่ยวร้องเอ็ดอึงอยู่" เมื่อจะทรงแสดงกิริยาของลา
เหล่านั้น อันพระโพธิสัตว์ผู้อันพระราชาทรงสดับเสียงของลาเหล่านั้น
ตรัสถามแล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชา ตรัสวาโลทกชาดก1นี้โดยพิสดาร
ว่า :-
"ความเมาย่อมบังเกิดแก่พวกลา เพราะดื่มกิน
น้ำหางมีรสน้อยอันเลว, แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่
ม้าสินธพ เพราะดื่มรสที่ประณีตนี้.
ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมนรชน ลานั้นเป็นสัตว์
มีชาติเลว ดื่มน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้ว
ย่อมเมา, ส่วนม้าอาชาไนย ผู้เอาธุระเสมอ เกิด
ในตระกูล (ที่ดี) ดื่มรสที่เลิศแล้วหาเมาไม่"

แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเว้นธรรมคือความโลภแล้ว ย่อม
เป็นผู้ไม่มีวิการเลย ทั้งในเวลาถึงสุข ทั้งในเวลาถึงทุกข์ อย่างนี้" เมื่อ
จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา วชนฺติ
น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต
สุเขน ผุฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน
น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.

1. ขุ. ชา. 27/65. อรรถกถา. 3/126.

" สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงแล.
สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่,1
บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม
ไม่แสดงอาการขึ้นลง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในธรรมทั้งหมด
ต่างโดยธรรมมีขันธ์ เป็นต้น . บุรุษดี ชื่อว่า สปฺปุริสา.
บทว่า วชนฺติ ความว่า สัตบุรุษเมื่อคร่าฉันทราคะออกด้วย
อรหัตมรรคญาณ ชื่อว่าย่อมเว้นฉันทราคะ.
บทว่า น กามกามา ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. ( อีกอย่างหนึ่ง) ได้
แก่ เพราะเหตุแห่งกาม คือเพราะกามเป็นเหตุ.
สองบทว่า ลปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่บ่นเพ้อด้วยตนเองเลย (ทั้ง ) ไม่ยังผู้อื่นให้
บ่นเพ้อ เพราะเหตุแห่งกาม. จริงอยู่ ภิกษุเหล่าใดเข้าไปเพื่อภิกษา
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร กล่าวคำเป็นต้นว่า " อุบาสก บุตรภรรยาของท่าน
ยังสุขสบายดีหรือ ? อุปัทวะไร ๆ ด้วยสามารถแห่งราชภัยและโจรภัย
เป็นต้น มิได้มีในสัตว์ 2 เท้าและสัตว์ 4 เท้าดอกหรือ ? " ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบ่นเพ้อเอง. ก็ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ( พูด )
ให้เขานิมนต์ตนว่า " อย่างนั้น ขอรับ พวกผมทุกคนมีความสุขดี.
1. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่พร่ำเพ้อ เพราะความใคร่ในกาม.
2. ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.