เมนู

แก้อรรถ


ห้วงน้ำใด แม้เมื่อเสนาทั้ง 4 เหล่า1 ข้ามอยู่ ย่อมไม่กระเพื่อม.
ห้วงน้ำเห็นปานนี้ ชื่อว่า รหโท ในพระคาถานั้น.
ก็นีลมหาสมุทรซึ่งลึกถึง 8 หมื่น 4 พันโยชน์ โดยอาการทั้งปวง
ชื่อว่า ห้วงน้ำ. แท้จริง น้ำในที่มีประมาณ 4 หมื่นโยชน์ ภายใต้
นีลมหาสมุทรนั้น ย่อมหวั่นไหวเพราะฝูงปลา. น้ำในที่มีประมาณเท่านั้น
เหมือนกัน ในเบื้องบน ย่อมหวั่นไหวเพราะลม. (ส่วน) น้ำในที่มี
ประมาณ 4 พันโยชน์ในท่ามกลาง (นีลมหาสมุทรนั้น) ไม่หวั่นไหว
ตั้งอยู่; นี้ ชื่อว่าห้วงน้ำลึก.
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ เทศนาธรรมทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า " ห้วงน้ำนั้น ชื่อว่า ใสแจ๋ว เพราะเป็นน้ำไม่
อากูล ชื่อว่า ไม่ขุ่นมัว เพราะเป็นน้ำไม่หวั่นไหว ฉันใด; บัณฑิต
ทั้งหลาย ฟังเทศนาธรรมของเราแล้ว ถึงความเป็นผู้มีจิตปราศจาก
อุปกิเลส ด้วยสามารถแห่งมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม
ผ่องใส ฉันนั้น. ส่วนท่านผู้บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมเป็นผู้ผ่องใสโดย
ส่วนเดียวแล."
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องมาดาของนางกาณา จบ.
1. ได้แก่ จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า.

9. เรื่องภิกษุ 500 รูป [67]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 500
รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา วชนฺติ "
เป็นต้น.
พระธรรมเทศนาตั้งขึ้นที่เมืองเวรัญชา.

พระศาสดาเสด็จเมืองเวรัญชา


ความพิสดารว่า ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป
เมืองเวรัญชา อันพราหมณ์ชื่อว่าเวรัญชะทูลนิมนต์แล้ว จึงเสด็จจำพรรษา
พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป. เวรัญชพราหมณ์ถูกมารดลใจ1มิให้เกิดสติ
ปรารภถึงพระศาสดาแม้สักวันหนึ่ง. แม้เมืองเวรัญชาได้เป็นเมืองข้าวแพง
แล้ว. พวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตตลอดเมืองเวรัญชา ทั้งภายในภายนอก
เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงลำบากมาก.
พวกพ่อค้าม้าจัดแจงภิกษา มีข้าวแดงราวแล่งหนึ่ง ๆ เพื่อภิกษุ
เหล่านั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นภิกษุเหล่านั้นลำบาก ได้มีความ
ประสงค์จะให้ภิกษุฉันง้วนดิน และประสงค์จะให้พวกภิกษุเข้าไปสู่อุตตร-
กุรุทวีป เพื่อบิณฑบาต. พระศาสดาได้ทรงห้ามท่านเสีย. แม้ในวันหนึ่ง
พวกภิกษุมิได้มีความสะดุ้งเพราะปรารภบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลายเว้น
ความประพฤติด้วยอำนาจความอยากแลอยู่แล้ว.
1. มาราวฏฺฏเนน อาวฏฺโฏ อันเครื่องหมุนไปทั่วแห่งหารให้หมุนทั่วแล้ว.