เมนู

พระราชา. "พระองค์ทรงทำให้นางเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็น
โลกุตระแล้วก็ช่างเถิด พระเจ้าข้า. ส่วนหม่อมฉัน จักทำนางให้เป็นเจ้า
ของทรัพย์ที่เป็นโลกีย์" ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาเสด็จกลับแล้ว
ทรงส่งยานใหญ่ที่ปกปิดไป รับสั่งให้เรียกนางกาณามาแล้วประดับด้วย
เครื่องอาภรณ์ทุกอย่าง ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งพระธิดาผู้ใหญ่แล้ว ตรัสว่า
" ผู้ใดสามารถเลี้ยงดูธิดาของเราได้; ผู้นั้นจงรับเอานางไป."

มหาอำมาตย์รับเลี้ยงนางกาณา


ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทุกอย่างคนหนึ่ง กราบทูลว่า
" ข้าพระองค์จักเลี้ยงดูพระธิดาของผ่าพระบาท" ดังนี้แล้ว นำนาไปยัง
เรือนของตน มอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างให้แล้ว กล่าวว่า " เจ้าจงทำ
บุญตามชอบใจเถิด."
จำเดิมแต่วันนั้นมา นางกาณาตั้งบุรุษไว้ที่ประตูทั้ง 4 ก็ยังไม่ได้
ภิกษุและภิกษุณีที่ตนพึงบำรุง. ของควรเคี้ยวและของควรบริโภคที่นาง
กาณาตระเตรียมตั้งไว้ที่ประตูเรือน ย่อมเป็นเหมือนห้วงน้ำใหญ่.
พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ ในกาลก่อนพระ-
เถระ 4 รูป ทำความเดือดร้อนให้แก่นางกาณา, นางแม้เป็นผู้เดือดร้อน-
อย่างนั้น อาศัยพระศาสดา ได้ความถึงพร้อมด้วยศรัทธาแล้ว; พระศาสดา
ได้ทรงทำประตูเรือนของนาง ให้เป็นสถานที่ควรเข้าไปของพวกภิกษุอีก,
บัดนี้ นางแม้แสวงหาภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายที่คนจะพึงบำรุง ก็ยังได้,
โอ ! ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีคุณน่าอัศจรรย์จริง.
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบ
ทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้." จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแก่เหล่านั้น
ทำความเดือดร้อนแก่นางกาณา มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน
พวกเธอก็ทำแล้วเหมือนกัน; อนึ่ง เราได้ทำให้นางกาณาทำตามถ้อยคำ
ของเรา มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, ถึงในกาลก่อน เราก็ทำแล้วเหมือนกัน
อันพวกภิกษุผู้ใคร่จะฟังเนื้อความนั้น ทูลวิงวอนแล้วจึงตรัสพัพพุชาดกนี้1
โดยพิสดารว่า:-
" แมวตัวหนึ่งได้หนูและเนื้อในที่ใด, แมว
ตัวที่ 2 ก็ย่อมเกิดในที่นั้น. ตัวที่ 3 และตัว
ที่ 4 ก็ย่อมเกิดในที่นั้น. แมวเหล่านั้นทำลาย
ปล่องนี้แล้ว (ถึงแก่ความตาย). "

แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า " ภิกษุแก่ 4 รูป (ในบัดนี้) ได้เป็นแมว
4 ตัวในครั้งนั้น. หนูได้เป็นนางกาณา. นายช่างแก้ว คือเรานั่นเอง "
ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล นางกาณาได้
เป็นผู้มีใจหม่นหมอง มีจิตขุ่นมัวอย่างนั้น (แต่ ) ได้เป็นผู้มีจิตผ่องใส
เหมือนห้วงน้ำมีน้ำใส เพราะคำของเรา เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
7. ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล
เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา.
" บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส
เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น. "

1. ขุ. ชา. เอก. 27/44. อรรถกถา. 2/364.

แก้อรรถ


ห้วงน้ำใด แม้เมื่อเสนาทั้ง 4 เหล่า1 ข้ามอยู่ ย่อมไม่กระเพื่อม.
ห้วงน้ำเห็นปานนี้ ชื่อว่า รหโท ในพระคาถานั้น.
ก็นีลมหาสมุทรซึ่งลึกถึง 8 หมื่น 4 พันโยชน์ โดยอาการทั้งปวง
ชื่อว่า ห้วงน้ำ. แท้จริง น้ำในที่มีประมาณ 4 หมื่นโยชน์ ภายใต้
นีลมหาสมุทรนั้น ย่อมหวั่นไหวเพราะฝูงปลา. น้ำในที่มีประมาณเท่านั้น
เหมือนกัน ในเบื้องบน ย่อมหวั่นไหวเพราะลม. (ส่วน) น้ำในที่มี
ประมาณ 4 พันโยชน์ในท่ามกลาง (นีลมหาสมุทรนั้น) ไม่หวั่นไหว
ตั้งอยู่; นี้ ชื่อว่าห้วงน้ำลึก.
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ เทศนาธรรมทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า " ห้วงน้ำนั้น ชื่อว่า ใสแจ๋ว เพราะเป็นน้ำไม่
อากูล ชื่อว่า ไม่ขุ่นมัว เพราะเป็นน้ำไม่หวั่นไหว ฉันใด; บัณฑิต
ทั้งหลาย ฟังเทศนาธรรมของเราแล้ว ถึงความเป็นผู้มีจิตปราศจาก
อุปกิเลส ด้วยสามารถแห่งมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม
ผ่องใส ฉันนั้น. ส่วนท่านผู้บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมเป็นผู้ผ่องใสโดย
ส่วนเดียวแล."
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องมาดาของนางกาณา จบ.
1. ได้แก่ จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า.